การเลี้ยงสัตว์โดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพ นำมาสู่การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไร้ความรับผิดชอบ

คุณคือพลังสำคัญของการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

เมื่อความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การเลี้ยงสัตว์เปลี่ยนไปสู่ระบบอุตสาหกรรมเพื่อเร่งกระบวนการผลิตให้ทันต่อความต้องการ ซึ่งเป็นต้นเหตุในการสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสวัสดิภาพสัตว์ สุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดจากสัตว์สู่คน

ยาปฏิชีวนะทำหน้าที่เป็นเหมือนเสาที่ค้ำยันระบบฟาร์มอุตสาหกรรมอยู่อย่างเงียบๆเพื่อป้องกันสัตว์ฟาร์มเกิดอาการเครียดและเจ็บป่วยจากการที่ต้องทนอยู่ในสภาพอันแสนหดหู่ในฟาร์มอุตสาหกรรม

แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะหรือ “ซุปเปอร์บั๊กส์” ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็นในฟาร์มอุตสาหกรรม ได้เข้ามาปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำและสภาพแวดล้อมรอบๆฟาร์มอุตสาหกรรม และเมื่อส่งมาถึงเราจะทำให้ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาเรามีประสิทธิภาพลดลงหรือเรียกอีกอย่างว่าอาการ “ดื้อยา”  นี่เป็นปัญหาระดับโลก กับสิ่งปนเปื้อนที่ได้เข้าสู่ระบบอาหารจากดินและน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจสอบ

ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากแบคทีเรียดื้อยากว่า 700,000 คนต่อปี และในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 30,000 คน หรือ 1 คนในทุกๆ 15 นาที

พัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในระบบฟาร์มอุตสาหกรรม คือทางออกที่ยั่งยืน

Superbugs in supermarket meat

การพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มระบบอุตสาหกรรมเป็นทางออกในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน  การไม่ใช้คอกขังแม่หมู การไม่ตัดตอนอวัยวะ เช่น การตัดหาง หรือการตอนสดกับลูกหมู หรือคัดเลือกสายพันธุ์ไก่ที่โตช้าลง รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้เหมาะสมและเอื้อต่อการแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติของไก่

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สัตว์ในฟาร์มระบบอุตสาหกรรมมีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น ซึ่งทำให้ความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะลดลงไปด้วย

world day for farmed animals collage

ร่วมมือกับเราเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

  • ให้ภาครัฐและเอกชนมีนโยบายห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม
  • ยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มที่คำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์
Indicates required field
4,381 signatures out of
15,000
นโยบายในการเก็บข้อมูลของคุณไว้เป็นความลับ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจะไม่นำรายชื่อเผยแพร่แก่ผู้อื่น และคุณสามารถทำการยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมจากองค์กรฯได้ทุกเมื่อ เพียงแค่กดลิงค์ ‘ยกเลิกการรับข่าวสาร’ (unsubscribe) ในอีเมล หรือโทรมาที่ 025130475 หรือส่งอีเมลมาที่ privacy@worldanimalprotection.or.th