The Pecking Order 2021

รายงานการจัดอันดับบริษัทฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังระดับโลกด้านการจัดการสวัสดิภาพไก่ 2021

หลายแบรนด์ในปีนี้ได้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นว่าจะพัฒนาสวัสดิภาพไก่ แต่ก็ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่ยังคงเพิกเฉยอยู่

รายงาน The pecking order ได้เดินทางเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ซึ่งในการรวบรวมข้อมูลและตีพิมพ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกรอบการทำงานและข้อชี้แนะต่อบริษัทฟาสต์ฟู้ดชั้นนำระดับโลกทั้งหมด 8 แห่ง พร้อมประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการจัดการสวัสดิภาพไก่เนื้อของแต่ละแห่ง ซึ่ง The pecking order ถือเป็นเครื่องมือเดียวในโลกที่ช่วยให้บริษัทเหล่านี้ดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกยึดถือเรื่องความโปร่งใสเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานยกระดับสวัสดิภาพไก่เนื้อ ด้วยเหตุผลนี้เอง เราจึงประเมินผลการดำเนินงานภายใน The pecking order 2021 จากข้อมูลสาธารณะเท่านั้น 

เกณฑ์การประเมิน

หลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินในรายงาน The pecking order นั้นได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกลุ่มองค์กรปกป้องสัตว์ทั่วโลก โดยมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และร่างขึ้นบนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะครอบคลุมถึงประเด็นการใช้ไก่สายพันธุ์โตช้า การแก้ไขปัญหาความแออัดและแสงสว่างไม่เพียงพอเพื่อให้ไก่มีอิสระในการเคลื่อนไหว

โดยบริษัทต่างๆ ถูกประเมินด้วยคะแนนจาก 3 ด้านหลัก ได้แก่ ความร่วมมือ วัตถุประสงค์กับเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ และการรายงานผลการดำเนินงาน โดยในแต่ละด้าน จะมี 6 คำถาม 30 คะแนน รวมแล้วทั้งหมด 3 ด้าน มีคะแนนทั้งหมด 90 คะแนนเต็ม จากนั้น แต่ละบริษัทจะถูกจัดลำดับตามคะแนนรวมที่ตนเองทำได้ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ลำดับ ตั้งแต่ แย่มากไปจนถึง เป็นผู้นำ

TPO ranking 21

ผลการจัดอันดับภาพรวมของฟาสต์ฟู้ดชั้นนำภายในประเทศไทยและในระดับ Global

แชร์ผลการจัดอันดับไปยัง Facebook ของคุณ

 

เป็นปีแรกที่ฟาสต์ฟู้ดในประเทศไทยได้รับการประเมิน 

ความพิเศษที่เพิ่มขึ้นมาในรายงาน The pecking order ปีนี้ คือได้มีการแสดงผลการประเมินของฟาสต์ฟู้ดในประเทศต่างๆซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย นับเป็นโอกาสดีที่ฟาสต์ฟู้ดในแต่ละประเทศจะเริ่มปรับปรุงและพัฒนาแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับสวัสดิภาพไก่ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment และเป็นไปในแนวทางเดียวกันในทุกสาขาทั่วโลก 

ผลการจัดอันดับใน The pecking order 2021 

มาดูผลการจัดอันดับของแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดทั้งในประเทศไทยและในระดับ Global กัน ว่าแต่ละแบรนด์มีการดูแลสวัสดิภาพไก่เป็นอย่างไรกันบ้าง

KFC Global กำลังดำเนินการ (59%) 

ในการประเมินปีนี้ KFC ได้รับคะแนนรวม 53 จาก 90 คะแนนเต็ม ดีขึ้นกว่าคะแนนในรายงาน The pecking order 2020 โดยถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 3 (Tier 3) หรือ ‘กำลังดำเนินการ’ ซึ่งยังอยู่ในลำดับเดิมจากปีที่แล้ว

คะแนนรวมของ KFC ดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา เพราะมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ของสาขาในทวีปยุโรปตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์​ เบลเยี่ยม และสวีเดนที่เปิดเผยข้อมูลมาตรฐานด้านสวัสดิภาพที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment ต่อสาธารณะ พร้อมทั้งยังรายงานการดำเนินงาน และตั้งเป้าหมายสวัสดิภาพไก่ภายในปี พ.ศ.2569 

แต่อย่างไรก็ตาม เราสนับสนุนให้สาขาที่เหลือของ KFC ทั่วโลกกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการกำหนดแนวทางยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ที่สอดคล้องกับ Better Chicken Commitment มาร่วมกันส่งเสียงไปยัง KFC ให้เริ่มดำเนินการปรับปรุงสวัสดิภาพไก่ในทุกสาขาทั่วโลกได้แล้ว

Tweet หา KFC Global

KFC ประเทศไทย แย่มาก (6%) 

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์ของบริษัท Yum! Brands ครอบคลุมสาขาของ KFC ในประเทศไทย ซึ่งมีการพูดถึงแนวทางสำหรับการยกระดับสวัสดิภาพไก่

แต่เรากลับพบว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment เช่น KFC ประเทศไทยยังไม่เปิดเผยข้อมูลด้านสวัสดิภาพสัตว์บนเว็บไซต์ ทำให้ KFC ประเทศไทย ถูดจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 6 (Tier 6) หรือ "แย่มาก" เราสนับสนุนให้ KFC ประเทศไทยแสดงจุดยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ และปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment

มาร่วมกันส่งเสียงไปยัง KFC ประเทศไทยให้ออกมาแสดงจุดยืนและลงนามใน Better Chicken Commitment  ให้สอดคล้องกับ KFC ในประเทศทางฝั่งยุโรปได้แล้ว!

Tweet หา KFC ประเทศไทย

Pizza Hut Global เพิ่งเริ่มลงมือ (42%) 

คะแนนรวมของ Pizza Hut ดีขึ้นมากกว่าคะแนนที่บริษัทเคยได้รับในรายงาน The pecking order 2020 โดยในปีนี้ Pizza Hut ได้รับ 38 คะแนนจากทั้งหมด 90 คะแนน ถูกปรับขึ้นมาให้อยู่ในลำดับที่ 4 (Tier 4) หรือ ‘เพิ่งเริ่มลงมือ’ จากลำดับที่ 6 (Tier 6) ในรายงานฉบับปีที่แล้ว

สาขาของ Pizza Hut ในแต่ละประเทศถูกครอบคลุมโดยนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ของบริษัท Yum! Brands ซึ่งพบว่ามีการกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับสวัสดิภาพไก่ แต่แนวทางดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment สาเหตุที่คะแนนรวมของ Pizza Hut ดีขึ้น เพราะสาขาของ Pizza Hut ในสหราชอาณาจักรและยุโรปประกาศเจตนารมณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตไก่เนื้อตลอดห่วงโซ่การผลิตให้ได้ภายในปี พ.ศ.2569 ซึ่งความพยายามดังกล่าวสอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment

เราสนับสนุนให้ Pizza Hut จัดทำ รายชื่อประเทศที่ถูกครอบคลุมโดยนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ สาขาในสหราชอาณาจักรและยุโรป

Pizza Hut ประเทศไทย แย่มาก (6%) 

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์ของบริษัท Yum! Brands ครอบคลุมสาขาของ Pizza Hut ในประเทศไทย ซึ่งพบว่ามีการกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับสวัสดิภาพไก่ แต่แนวทางดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment อีกทั้งยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลด้านสวัสดิภาพสัตว์บนเว็บไซต์ ทำให้ Pizza Hut ประเทศไทย ถูดจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 6 (Tier 6) หรือ "แย่มาก"

เราสนับสนุนให้ Pizza Hut ในประเทศไทยแสดงจุดยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ และปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment

Burger King Global เพิ่งเริ่มลงมือ (41%) 

คะแนนรวมของ Burger King เพิ่มสูงมากขึ้นจากการประเมินในรายงาน The pecking order 2020 โดยในปีนี้ Burger King ได้รับ 37 คะแนนจากทั้งหมด 90 คะแนน และถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 4 (Tier 4) หรือ ‘กำลังดำเนินการ’ เลื่อนขึ้นมาจากลำดับที่ 6 (Tier 6) หรือ ‘แย่มาก’

ภายใต้การกำกับดูแลของบริษัทแม่ Restaurant Brands International (RBI) Burger King ในสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาได้วางแผนการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไก่แล้ว ซึ่งความพยายามของ Burger King ในสอง ประเทศสอดคล้องกับมาตรฐานของ Global Animal Partnership (GAP) และครอบคลุมประเด็นการควบคุมความหนาแน่นภายในโรงเรือน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือน และการเลือกใช้วิธีการฆ่าไก่โดยคำนึกถึงหลักมนุษยธรรม

ในขณะที่นโยบายสวัสดิภาพไก่ของ Burger King ในสหราชอาณาจักรกำลังดำเนินไปในทิศทางเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตไก่ของยุโรปภายในปี พ.ศ.2569 โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมความหนาแน่นภายในโรงเรือน การคัดเลือกสายพันธุ์ไก่โตช้า การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือน การเลือกใช้วิธีการฆ่าไก่โดยคำนึกถึงหลักมนุษยธรรม และการตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 หรือหน่วยงานภายนอก

ในส่วนของ Burger King ในสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา เราสนับสนุนให้สาขาของ Burger King ในสองประเทศนี้ รวมถึงสาขาในประเทศอื่น ๆ ประกาศจุดยืนเรื่องสวัสดิภาพไก่และความตั้งใจของบริษัทในการยกระดับคุณภาพชีวิตไก่ต่อสาธารณชน เรายังสนับสนุนให้ Burger King เริ่มจัดทำรายงานและกำหนดกรอบเวลาทำงานที่ชัดเจนสำหรับ Burger King ในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา

Burger King  ประเทศไทย แย่มาก (10%) 

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์สากลของ Burger King ครอบคลุมสาขาในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เรากลับยังไม่พบความพยายามในการยกระดับคุณภาพไก่ และไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตไก่ ทำให้ Burger King ประเทศไทย ถูกจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 6 (Tier 6) หรือ "แย่มาก"

เราสนับสนุนให้ Burger King ในประเทศไทยปรับเปลี่ยนนโยบายบริษัทให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment

Nando's Global เพิ่งเริ่มลงมือ (38%) 

คะแนนรวมของ Nando’s เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับคะแนนในรายงาน The pecking order 2020 โดยในปีนี้ Nando’s มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 34 จากคะแนนทั้งหมด 90 คะแนน ไต่ขึ้นมาจากลำดับที่ 5 (Tier 5) ในปีที่แล้ว มาอยู่ลำดับที่ 4 (Tier 4) หรือ ‘เพิ่งเริ่มลงมือ’ ในปีนี้

อย่างไรก็ตาม Nando’s ยังคงไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายสวัสดิภาพไก่ระดับสากลของบริษัท ความร่วมมือยังคงถูกจำกัดอยู่ในแต่ละประเทศเท่านั้น ลำดับการจัดการด้านสวัสดิภาพไก่ของ Nando’s ในสหราชอาณาจักรไต่สูงขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากการประกาศคำมั่นสัญญายกระดับคุณภาพชีวิตไก่ภายในปี พ.ศ.2569 ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment ในขณะที่ Nando’s ในประเทศอื่น (เช่น ออสเตรเลีย,​แคนาดา และนิวซีแลนด์) ออกแถลงการณ์เลือกใช้ไก่แบบไม่ขังกรง (Cage-free) 

เราสนับสนุนให้ Nando’s กำหนดกรอบเวลาทำงานเพื่อพัฒนาสวัสดิภาพไก่ระดับสากล แนวทางการดำเนินการควรสอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment และทุกสาขาในแต่ละประเทศควรนำไปปรับใช้ บริษัทควรเริ่มจัดทำรายงานผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางในการบรรลุเป้าหมาย

McDonald's Global เพิ่งเริ่มลงมือ (37%) 

คะแนนรวมของ McDonald’s ดีขึ้นกว่าคะแนนที่ได้รับจากการประเมินในรายงาน The pecking order 2020 โดยในปีนี้ McDonald’s ได้รับ 33 คะแนนจากทั้งหมด 90 คะแนน ส่งผลให้ลำดับของบริษัทขยับขึ้นมาจาก ลำดับที่ 5 (Tier 5) มาอยู่ในลำดับที่ 4 (Tier 4) หรือ ‘เพิ่งเริ่มลงมือ’

เราสนับสนุนให้ McDonald’s รายงานผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตไก่ภายในปี พ.ศ.2567 ตามเจตนารมณ์ที่ประกาศไว้ 

McDonald's ประเทศไทย แย่ (16%

สำหรับในส่วนของ McDonald's ประเทศไทย ได้มีการขยับอันดับขึ้นมาจากปีที่ผ่านมาหนึ่งอันดับมาอยู่ในลำดับที่ 5 (Tier 5) หรือ "แย่" แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาสวัสดิภาพไก่ นโยบายสวัสดิภาพสัตว์สากลของ McDonald’s ครอบคลุมสาขาในประเทศไทย

แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงสนับสนุนให้ McDonald’s ในประเทศไทยปรับปรุงมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทุกข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment

Subway Global เพิ่งเริ่มลงมือ (31%) 

คะแนนรวมของ Subway นั้นน้อยลงจากรายงาน The pecking order 2020  โดยในปีนี้ Subway ได้รับ 28 คะแนนจากทั้งหมด 90 คะแนน ยังคงอยู่ในลำดับที่ 4 (Tier 4) หรือ ‘เพิ่งเริ่มลงมือ’ ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว 

เราสนับสนุนให้ Subway ประกาศยกระดับคุณภาพชีวิตไก่ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ Better Chicken Commitment และสาขาของ Subway ในทุกประเทศจะต้องนำนโยบายด้านสวัสดิภาพไก่ไปปรับใช้ เราสนับสนุนให้ Subway เริ่มจัดทำรายงานด้านสวัสดิภาพไก่ของสาขาในสหรัฐอเมริกา

Subway ประเทศไทย แย่มาก (0%) 

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์สากลของ Subway ครอบคลุมสาขาในประเทศไทย แต่เราไม่พบว่ามีการกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับสวัสดิภาพไก่อย่างเป็นทางการ อีกทั้งบริษัทยังไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานสวัสดิภาพไก่ จึงส่งผลให้ Subway ประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 (Tier 6) หรือ "แย่มาก"

เราสนับสนุนให้ Subway ในประเทศไทยปฏิบัติตามหลักด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment

Starbucks Global เพิ่งเริ่มลงมือ (28%)  

ระดับคะแนนรวมของ Starbucks’s ยังคงเดิมจากในรายงาน The pecking order 2020 โดยมีคะแนนอยู่ที่ 25 จากทั้งหมด 90 คะแนน และถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 4 (Tier 4) หรือ ‘เพิ่งเริ่มลงมือ’ เช่นเดิม

สาขาของ Starbucks ในสหรัฐอเมริกาพัฒนาและยกระดับการเลี้ยงไก่ตามแนวปฏิบัติด้านสวัสดิภาพสัตว์ อาทิ การลดความแออัดภายในโรงเรือน การคัดเลือกสายพันธุ์ไก่ที่ส่งผลดีต่อสวัสดิภาพสัตว์ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมให้ไก่ได้แสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติมากขึ้น การเลือกใช้วิธีฆ่าอย่างมีมนุษยธรรม และการตรวจสอบโดยบุคคลที่ 3 หรือหน่วยงานภายนอก แนวปฏิบัติทั้งหมดสอดคล้องกับมาตรฐาน Global Animal Partnership (GAP) เราสนับสนุนให้ Starbucks ประกาศจุดยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ต่อสาธารณะ และพัฒนาแนวทางการปฏิบัติให้ทุกสาขาในแต่ละประเทศนำไปปรับใช้ สาขาในประเทศแคนาดาเคยประกาศจุดยืนตามสาขาในสหรัฐอเมริกา แต่เราพบว่า เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการประกาศเจตนารมณ์ดังกล่าวถูกลบทิ้งออกจากเว็บไซต์

เราสนับสนุนให้ Starbucks จัดทำรายงานผลดำเนินการด้านสวัสดิภาพสัตว์เพื่อให้บริษัทบรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนดที่ตั้งไว้สำหรับสาขาในสหรัฐอเมริกา

Starbucks ประเทศไทย แย่มาก (0%)  

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์สากลของ Starbucks ครอบคลุมสาขาในประเทศไทย แต่ไม่พบว่ามีการกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อยกระดับสวัสดิภาพไก่ อีกทั้งเว็บไซต์ของบริษัทไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิภาพไก่ ทำให้ Starbucks ประเทศไทย ถูดจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 6 (Tier 6) หรือ "แย่มาก"

เราสนับสนุนให้ Starbucks ในประเทศไทยปฏิบัติตามหลักด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment

Domino's Pizza PLC แย่มาก (12%)  

นโยบายสวัสดิภาพสัตว์สากลของ Domino’s Pizza Group PLC ครอบคลุมเฉพาะผู้ผลิตเนื้อไก่ให้สาขาในสหราชอาณาจักร และประเทศไอร์แลนด์เท่านั้น ซึ่งนอกจากการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ไก่แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติแล้ว วิธีปฏิบัติอื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตไก่กลับถูกพบว่า ยังไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment 

แม้ว่า Domino’s Pizza Group PLC ในสหราชอาณาจักรได้ประกาศเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง (Cage-free) และจัดทำรายงานความหนาแน่นของไก่ภายในโรงเรือนที่ทำให้ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 5 (Tier 5) หรือ "แย่" 

แต่อย่างไรก็ตามเรายังอยากสนับสนุนให้บริษัทเดินหน้าพัฒนามาตรฐานสวัสดิภาพไก่ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Better Chicken Commitment รวมถึงการเลือกใช้ไก่สายพันธุ์โตช้า

Domino's Pizza Inc. แย่มาก (0%) 

Domino’s Pizza Inc. ยังไม่มีนโยบายด้านสวัสดิภาพไก่ หรือแสดงพันธะสัญญาใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Better Chicken Commitment ทำให้ถูดจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 6 (Tier 6) หรือ "แย่มาก" เราสนับสนุนให้ Domino’s Pizza Inc. ปรับเปลี่ยนนโยบายบริษัทให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Better Chicken Commitment

Domino's Pizza ประเทศไทย แย่มาก (0%) 

ไม่ปรากฏผลข้อมูล

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม

ฟาสต์ฟู้ดต้องเปลี่ยน! โดยเฉพาะอย่างยิ่ง KFC ประเทศไทย!

Two captive monkeys are hosted in a barren cage, one monkey lays limp on its side.