A farm worker clips the teeth of a piglet 72 hours after he was born - World Animal Protection - Raise Pigs Right

ลูกหมูถูกตัดอวัยวะอย่างเจ็บปวดในอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงหมู

ข่าว

หมูคือสัตว์ซึ่งถูกเพาะเลี้ยงเป็นจำนวนมากในระบบอุตสาหกรรมฟาร์ม และลูกหมูจะต้องพบกับความเจ็บปวดนับตั้งแต่นาทีแรกที่ลืมตาขึ้นมาดูโลก

เขียนโดย 

capture

Jacqueline Mills

The Animals in farming blog

ในธรรมชาติ ลูกหมูจะอยู่กับแม่ของพวกมันจนอายุได้ระหว่าง 10 – 14 สัปดาห์ เมื่อมันแข็งแรงมากพอที่จะออกไปเผชิญโลกได้ ซึ่งแตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิงกับชีวิตของลูกหมูที่เกิดมาในฟาร์มเลี้ยงระบบอุตสาหกรรม

ในฟาร์มเลี้ยง แม่หมูจะถูกใช้งานเสมือนเครื่องจักรสำหรับผลิตลูกหมู และลูกหมูจะถูกพรากออกมาจากแม่ของพวกมันเมื่ออายุได้เพียง 3 สัปดาห์ และบางครั้งก็อายุน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำไป

ลูกหมูเหล่านี้เกิดมาเพื่อพบกับความทรมานตลอดชีวิต

piglet_on_a_factory_farm

Piglet on a factory farm

พฤติกรรมตามธรรมชาติที่ไม่ได้รับการตอบสนอง

แม่หมูมีสัญชาติญาณตามธรรมชาติที่จะสร้างรังเพื่อเตรียมตัวคลอดลูก แต่มันก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ในคอกกั้นด้วยรั้วเหล็กในฟาร์มเลี้ยง

เมื่อลูกหมูคลอดออกมา แม่หมูไม่สามารถจะเอี้ยวตัวมาหาลูกเพื่อสร้างความผูกพัน แม่หมูถูกคัดเลือกสายพันธุ์มาโดยเฉพาะให้สามารถมีลูกครอกใหญ่จนกระทั้งเต้านมของมันมีไม่เพียงพอที่จะป้อนลูกได้ทุกตัว

การตัดอวัยวะที่เจ็บปวด

คนส่วนใหญ่ไม่เคยทราบว่า ในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต ลูกหมูจะถูกบังคับตัดอวัยวะต่างๆ ด้วยความเจ็บปวดทรมาน บ่อยครั้งไม่มีการให้ยาชาหรือยาแก้ปวดใดๆ เลย

ลูกหมูจะถูกตัดหางออก ถูกขลิบใบหูเพื่อทำเครื่องหมายจำแนก ถูกตัดเขี้ยว และในลูกหมูตัวผู้มันจะถูกตัดอัณฑะ

ถูกพรากจากแม่

ลูกหมูจะถูกพรากออกมา เพื่อให้แม่หมูสามารถผสมพันธุ์ได้อีกโดยเร็วที่สุด

นั่นไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความเครียดให้ทั้งแม่หมูและลูกหมูเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพต่อทั้งหมูและต่อคนเช่นกัน

cut_off_piglet_tails_on_a_table_next_to_pliers

Cut off piglet tails on a table next to pliers

ลูกหมูที่ถูกหย่านมเร็วเกินไปมักจะเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยและได้รับเชื้อโรคโดยง่าย นั้นก็หมายความว่า ผู้เลี้ยงจะให้ยาปฏิชีวนะกับลูกหมูเป็นประจำ เพื่อพยายามป้องกันไม่ให้ลูกหมูป่วย แทนที่จะเก็บยาเหล่านั้นไว้รักษาหมูที่ป่วยเท่านั้น

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อในฟาร์มเลี้ยงเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาใหญ่อย่างเช่นเชื้อโรคแบคทีเรียดื้อยา ทำให้ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ในยารักษาคนใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

ผู้บริโภคต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง

เรารู้ว่าผู้คนต้องการให้ลูกหมูมีชีวิตที่ดีกว่านี้

โพลสำรวจโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก 11 ประเทศในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย เผยให้เห็นว่า ผู้คนต่างรู้สึกหวาดกลัวเมื่อพวกเขาได้เรียนรู้ถึงความทุกข์ทรมานที่แม่หมูและลูกหมูจะต้องได้รับ

กว่า 60% ของผู้คนในแต่ละประเทศกล่าวว่าพวกเขา “อาจจะไม่ซื้อ” หรือ “จะไม่ซื้ออย่างแน่นอน” ผลิตภัณฑ์หมูจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่รับผลิตภัณฑ์มาจากระบบการเลี้ยงที่มีการตัดเขี้ยว ตัดหาง และตัดอัณฑะหมู ซึ่งบ่อยครั้งไม่ได้มีการใช้ยาแก้ปวดใดๆ เลย

ระหว่าง 80 – 93% ของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละประเทศยังเชื่ออีกว่า มันเป็นสิ่งสำคัญที่หมูควรจะได้รับการเลี้ยงดูโดยมีมาตรฐานสวัสดิภาพที่ดีกว่านี้

หมูไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบนี้

นับตั้งแต่ปี 2018 เราได้ทำการรณรงค์เพื่อมาตรฐานสวัสดิภาพที่ดีกว่าสำหรับหมูทั่วโลก ผ่านแคมเปญ Raise Pigs Right ของเรา 

และนับตั้งแต่การเปิดตัวแคมเปญ ผู้คนมากกว่า 375,000 คน ได้เรียกร้องให้ซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมไปถึงห้างเทสโก้ ห้างวอลมาร์ท และห้างคาร์ฟูร์ ปรับใช้มาตรฐานสวัสดิภาพที่ดีขึ้นสำหรับหมู ซึ่งเป็นแหล่งที่มีของผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูในทุกสาขาทั่วโลก โดยมีห้างท็อปส์ มาร์เก็ตในประเทศไทย และห้าง Kroger ในสหรัฐ ที่ได้ให้ความร่วมมือในการปรับลดการเลี้ยงแม่หมูแบบขังกรงแล้ว

เราได้นำผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี่จากทั่วโลก รัฐบาล และภาคเอกชนมาร่วมกันค้นหาโอกาสและอุปสรรคที่จะยุติการบังคับตัดอวัยวะลูกหมูอย่างเจ็บปวด และแบ่งปันสิ่งที่เราได้ค้นพบให้กับผู้ร่วมอุดมการณ์เพื่อช่วยกันยกระดับสวัสดิภาพของลูกหมู

เราได้เปิดเผยถึงตัวอย่างของภาคธุรกิจ พร้อมรายละเอียดว่าบริษัทผู้ผลิตหมูชั้นนำทั่วโลกต่างได้ค้นพบว่าแนวทางปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของลูกหมูมากกว่า จะสามารถส่งผลดีต่อธุรกิจ และตัวลูกหมูเองได้อย่างไรบ้าง

Pictured: a piglet in a cage on a factory farm.

Piglet behind metal bars on a factory farm

ข้อเท็จจริงที่สนับสนุนการเรียกร้องของเรา

หมูถูกเข้าใจว่าเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลากเทียบเท่ากับเด็กสามขวบ และมีลักษณะพฤติกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับคนเรา แต่เนื่องจากการเติบโตมาในคอกคอนกรีตที่แออัดโดยไม่มีอะไรทำ พวกมันจึงระบายความเครียดโดยการไล่กัดหางหมูตัวอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม การตัดหางหมูออกก็ไม่ได้แก้ปัญหานี้

การให้พื้นที่กับหมู และให้วัสดุอย่างเช่นฟางข้าว หรือวัสดุที่กินได้อย่างอื่นจะช่วยแก้ไขพฤติกรรมนี้ และส่งผลให้สัตว์มีความเครียดลดน้อยลง และลดการกัดหางลดลงมาเหลือน้อยที่สุด

เมื่อลูกหมูสามารถอยู่กับแม่หมูได้นานขึ้นก่อนการหย่านม ให้หมูมีพื้นที่อยู่มากขึ้น สามารถแสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติ ก็หมายความว่าหมูจะมีความสุขมากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง

ลูกหมูจะพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ติดต่อเชื้อโรคโดยง่าย ส่งผลให้ไม่มีความจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลดีต่อทั้งตัวหมู และเป็นผลดีสำหรับผู้บริโภคเช่นกัน

ร่วมเรียกร้องให้อุตสาหกรรมฟาร์มลี้ยงหมูอย่างถูกต้องและมีมนุษยธรรม

เมื่อความต้องการบริโภคเนื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หมูในฟาร์มเลี้ยงระบบอุตสาหกรรมจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีและแข็งแรง

world_animal_protection_staff_member_holding_a_piglet_on_a_factory_farm

World Animal Protection staff member holding a piglet on a factory farm

ซุปเปอร์มาร์เก็ตคือผู้ซื้อขายเนื้อหมูรายใหญ่ที่สุด และพวกเขาให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของลูกค้า และแหล่งที่พวกเขาไปจับจ่ายใช้สอย

ยิ่งมีคนจำนวนมากเท่าไหร่ที่ช่วยกันสร้างแรงกดดันให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตปรับปรุงคุณภาพชีวิตสำหรับหมู โอกาสที่พวกเขาจะยอมรับฟังก็มีมากขึ้น และลูกหมูเหล่านั้นจะได้เป็นอิสระจากความทรมานทั้งชีวิต

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา เพื่อยุติการทรมานสัตว์ ลงชื่อด้านล่างนี้เพื่อติดตามข่าวสารกิจกรรมสำคัญต่างๆ ที่คุณสามารถร่วมทำได้