
วิกฤติเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในเนื้อหมู
วิกฤติเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในเนื้อหมู
สวัสดิภาพสัตว์ที่สูงขึ้นในฟาร์ม ดีกว่าสำหรับหมูและคนอย่างไร
โลกกำลังทุกข์ทรมานอยู่ในฟาร์มอุตสหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการเนื้อหมูราคาถูก
แต่หมูไม่ได้เป็นฟันเฟืองในเครื่องจักร พวกมันมีชีวิต มีลมหายใจ พวกมนรู้สึกเจ็บปวด เครียดและมีความสุข
ภายในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายในฟาร์มอุตสาหกรรม สัตว์ที่มีความฉลาดเหล่านี้ต้องถูกตัดอวัยวะอย่างเจ็บปวด และถูกขังอยู่ในกรงที่คับแคบ ทำให้พวกมันไม่สามรถแสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญณในการหาอาหาร
สร้างรัง และคลอดลูกได้อย่างสะดวก
ความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นกับหมูในฟาร์มทั่วโลกเป็นสิ่งที่ขัดขว้างการเจริญเติบโต พัฒนาการ และทำให้หมูเหล่านั้น ไม่สบาย เป็นระยะเวลาหลายปีที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมนี้เพื่อรักษาอาการป่วยของสัตว์ที่เกิดขึ้นจำความเครียด อันเป็นผลมาจากวิธี การเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม
นับเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เชื้อแบคทีเรียดื้อยาในฟาร์มเกิดขึ้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น และบรรดาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเหล่านี้กำลังเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและสภาพแวดล้อมของเรา เมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่ทนทานต่อยาปฏิชีวนะถูกส่งผ่านไปสู่คน จะทำให้ประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคต่างๆของเราลดลง
รายงานขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกนับเป็นก้ำวสำคัญในการสร้างควมตระหนักรู้
โดยชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสวัสดิภาพที่ต่ำในฟาร์ม อุตสาหกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อทั้วหมูและคน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นส่งผลต่ออาหารและสุขภาพของเรา อีกทั้งยัง
แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาสัวสดิภาพให้ดีขึ้นทำให้ผู้ผลิตหมูสามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะและช่วยแก้ไขวิกฤติเชื้อแบคทีเรียดื้อยาทั่วโลกได้
ผู้ผลิตเนื้อหมูและซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งได้ผนึกกำลังเพื่อทำให้หมูมีชีวิตที่ดีขึ้น
จากการผลักดันภายใต้โครงการรณรงค์เลี้ยงหมูด้วยใจ (Raise Pigs Right) โครเกอร์ (Kroger) เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศที่จะยุติการกักขังหมูในขณะตั้งครรภ์ภายในปี
พ.ศ. 25681 และในประเทศไทย บริษัทซีพีฟุ้ด(CPF) ก็ได้ประกาศที่จะยุติการกักขังหมูในขณะตั้งครรภ์ในประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2568 และ
ทั่วโลกภายในปี พ.ศ.2571
เรากำลังรวมพลังเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของหมู ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเลี้ยงหมูด้วยใจ
Jacqueline Mills Global, Head of Farming
สรุป
ฟาร์มอุตสาหกรรมมีการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นอย่างมาก เพื่อให้หมูมีสุขภาพดีและมีผลผลิตที่ดีภายใต้สภาพแวดล้อมที่โหดร้าย ทุกข์ทรมานจากการ ถูกกักขังและขัดกับพฤติกรรมตามธรรมชาติของหมู ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตเชื้อแบคทีเรียดื้อยาทั่วโลก
ยาปฏิชีวนะหลายชนิดที่ใช้ในฟาร์มเป็นชนิดเดียวกันกับใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคน
เนื่องจากแบคทีเรียดื้อยาเหล่านี้ได้พัฒนาความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะหนึ่งกลุ่มหรือมากกว่านั้นจึงส่งผลให้ยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ในฟาร์มหมูมีประสิทธิภาพในการรักษาคนที่ลดลงหรือใช้ไม่ได้ผลเลย เชื้อแบคทีเรียดื้อยาหรือที่รู้จักกันในนามแบคทีเรียที่ทนต่อยาต้านจุลชีพ (AMR) ฆ่าผู้คนทั่วโลกไปแล้ว 700,000 รายในแต่ละปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
10 ล้านคนต่อปีภายในปี พ.ศ. 2593
องค์การสหประชาชาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีพบการตกค้างของยาปฏิชีวนะและเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในแหล่งน้ำบริเวณโดยรอบฟาร์มอุตสาหกรรมทั่วโลก
ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกกำลังทำให้ปัญหานี้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วยการซื้อเนื้อหมูจากผู้ผลิตที่มีสวัสดิภาพต่ำการยุติการใช้ยำปฏิชีวนะในฟาร์มอุตสาหกรรมไม่ใช่คำตอบ แต่การส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ให้ดีขึ้นคือคำตอบที่แท้จริง และเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วน ต้องให้ความสำคัญ
ปัญหาระดับโลกที่เผชิญร่วมกัน
รายงานฉบับนี้มุ้งเน้นที่การทดสอบผลิตภัณฑ์เนื้อหมูจากห้างค้าปลีกที่ดำนินการโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกใน 4 ประเทศ ในปีพ.ศ. 2561 โดยเป็นการทดสอบเพื่อตรวจหาแบคทีเรียที่มีอย่ในเนื้อหมู
ที่มีการจัดจำหน่ายโดยซูเปอร์มาร์เก็ตสามในสี่ประเทศที่ทำการทดลอง (บราซิล สเปน และไทย) โดยเป็นการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ขายในห้างคาร์ฟร์ (Carrefour) ในประเทศสเปนและห้างวอลมาร์ต (Walmart) ในประเทศบราซิล
ผลทดสอบแสดงให้เห็นว่าการลำเลียงหมูแบบสวัสดิภาต่ำเกี่ยวข้องกับการ ใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น ในขณะที่การปรับปรุงสวัสดิภาพของสัตว์ ในฟาร์มช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะและทำให้ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัยแก่
ผู้บริโภค
ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสวีเดน ในปีพ.ศ.2529 มีการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของหมู รวมถึงยกระดับสวัสดิภาพในฟาร์มให้สูงขึ้นส่งผลให้การใช้ยาปฏิชีวนะในประเทศลดลงถึงร้อยละ 65
ในปี พ.ศ. 2558
งานวิจัยล่าสุดโดยองค์กรพิทกษ์สัตว์แห่งโลกพบว่าผู้บริโภคมีความ กระตือรือร้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สี่ในห้าของลกค้าซูเปอร์มาร์เก็ตที่สำรวจในออสเตรเลีย บราซิล และไท ระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อ
สุขภพต่อยาปฏิชีวนะในฟาร์ม พวกเขายังพบว่าวิธีการที่ สุกรได้รับกำรปฏิบัติในฟาร์มอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
โดยสวนใหญ่รู้สึก "ไม่พอใจ", "เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง" หรือ "ตกใจ" เมื่อเห็นภาพของที่เกิดขึนกับหมูในฟาร์มอุตสาหกรรม
นี่คือสิ่งจำเป็นที่ซูเปอร์มำร์เก็ต ซึ่งเป็นผู้ซื้อเนื้อหมูรายใหญ่ต้องทำให้ฟาร์มผู้ผลิตเข้าใจถึงความสำคัญของปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ อันจะนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อรับมือกับวิกฤตเชื้อแบคทีเรีย ดื้อยา
เพียงให้หมูออกจำกรงขังไปสู่การเลี้ยงแบบรวมกลุ่มให้มีพื้นที่เคลื่อนไหว มีวัสดุต่างๆที่ส่งเสริมพฤติกรรมตามธรรมชาติ เพื่อลดความเครียดของสัตว์ให้ลูกหมูได้มีโอกาสอยู่กับแม่นานขึ้นก่อนการหย่านม และยุติการตัดอวัยวะเช่นการตอน ตัดหางและกรอฟัน สัตว์ก็จะแข็งแรงขึ้นและต้องการยาปฏิชีวนะน้อยลง
ผู้ผลิตเนื้อหมูที่มีความรับผิดชอบหลายแห่ง ได้มีการจัดการฟาร์มเพื่อยกระดับสวัสดิสดิภาพสัตว์ให้สูงขึ้นแล้ว จำเป็นต้องได้รับการขยายผลในระดํบโลก รายงานฉบับนี้ได้ระบอย่างชัดเจนว่าในแต่ละภาคส่วนควรทำ อย่างไรเพื่อร่วมกันลดการใช้ยปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในฟาร์มหมู และ เพื่อปกปองสุขภาพของคนจากวิกฤตเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้
ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมในรายงานฉบับเต็ม
อ้างอิง
1 World A otection, (2018) World Animal Protection applauds Kroger on commitment to end use of gestation crates for pigs, https://www.worldanimalprotection.org.au/news/world-animal-protection-a…- crates-pigs
2 Note that CP Group operations in China are currently excluded from this commitment. Reference: Williams, A, (2018) CPF steps up animal welfare improvements with global policy, Global Meat News, https://www.globalmeatnews.com/ Article/2018/04/27/CPF-launch-global-animal-welfare-policy
3 Antibiotics and antimicrobials are substances that kill or inhibit growth of microorganisms including bacteria. Whilst antibiotics are a subset of antimicrobials, the term “antibiotics” is used in in this report to broadly encompass substances of both natural and synthetic origin.
4 The Review on Antimicrobial Resistance, (2014), Antimicrobial resistance: Tackling a crisis for the health and wealth of nations, Chaired by Jim O’Neill
5 United Nations Environment Programme (UNEP), (2017) Frontiers 2017 : Emerging Issues of Environmental Concern, Nairobi
6 Gundogan, N, Citak, S, Yucel, N, Devren, A, (2005) A note on the incidence and antibiotic resistance of Staphylococcus aureus isolated from meat and chicken samples, Meat Science 69(4): 807-810; Karmi, M, (2013), Prevalence of methicillin- resistant Staphylococcus aureus in poultry meat in Qena, Egypt, Veterinary World, 6(10), 711-715; Thai, TH, Hirai, T, Lan, NT, Yamaguchi, R, (2012), Antibiotic resistance profiles of Salmonella serovars isolated from retail pork and chicken meat in North Vietnam, International Journal of Food Microbiology, 156(2): 147-151; Zbrun, MV, Olivero, C, Romero-Scharpen, A, Rossler, E, Soto, LP, Astesana, DM, Blajman, JE, Berisvil, A, Signorini, ML, Frizzo, LS (2015) Antimicrobial resistance in thermotolerant Campylobacter isolated from different stages of the poultry meat supply chain in Argentina. Food Control 57: 136-141
7 As of June 2018, private equity firm Advent International took a 80% stake in Walmart Brazil with Walmart Inc retaining a 20% stake.
8 Backhans, A, (2016) Antimicrobial use in Swedish farrow-to-finish pig herds is related to farmer characteristics, Porcine Health Management, https://porcinehealthmanagement.biomedcentral.com/articles/10.1186/s408…
9 Four studies were conducted across eleven countries and five continents for World Animal Protection between October 2017 and March 2018, canvassing the opinion of over nine thousand people globally.
USA: Pigs and Retailers Strategic Market Assessment
Australia, Brazil and Thailand: International Attitudes towards Pig Welfare and Retailer Responsibilities
Canada, Chile, Denmark, New Zealand, Sweden and UK: Pig Welfare and the Global Consumer
China: Awareness and attitudes to pig welfare in China