World Animal Protection Thailand

พบช่องโหว่การค้าสัตว์ป่าทำเต่าสูญพันธุ์

ข่าว

ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าเตือนถึงเต่าดาวอินเดียถูกคุกคามจากการค้าที่ผิดกฎหมายที่มีแพร่กระจายทั่วโลก อันเนื่องมาจากความต้องการสัตว์เลี้ยงแปลกๆ หรือ exotic pet

จากผลการวิจัยขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เกี่ยวกับการศึกษาตลาดการค้าสัตว์ป่าในประเทศอินเดียกว่า 15 ปี ทำให้ทราบว่า ในแต่ละปีมีเต่ามากกว่า 55,000 ตัวถูกลักลอบจับจากแถบตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย

เราพบหลักฐานของการลักลอบค้าสัตว์ข้ามประเทศแบบผิดกฏหมาย เต่าถูกขนส่งโดยใส่ไว้ในกล่องซึ่งซ่อนอยู่ใต้กล่องบรรจุอาหาร เช่น ผัก และปลา สัตว์เหล่านี้บางส่วนเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง สำหรับตัวที่มีชีวิตรอดไปถึงปลายทางก็จะต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกขังในพื้นที่แคบ และอาจตายก่อนเวลาอันควร เนื่องจากขาดสารอาหาร หายใจไม่ออก หรือเกิดจากความเครียดที่ถูกขัง

1016323

จากบทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ พบว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ

ของการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากช่องโหว่ทางกฎหมายจึงทำให้ลักลอบนำสัตว์ออกมาจากป่าได้ง่าย เช่นในกรณีของเต่าดาวอินเดียที่ผิดกฎหมายการค้าในประเทศอินเดีย แต่ไม่ได้ถูกระบุไว้ในกฎหมายของประเทศไทย ทำให้ระหว่างปีค.ศ. 2008 - 2013 ได้พบการลักลอบขนส่งสัตว์ชนิดนี้อย่างผิดกฎหมายจำนวนมากในประเทศไทย

Dr Neil D'Cruze, หัวหน้าฝ่ายวิจัยสัตว์ป่าขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World animal Protection) กล่าวว่า “เราตกใจอย่างมากกับการเพิ่มจำนวนการลักลอบค้าเต่าดาวอินเดียอย่างผิดกฎหมาย และ มากกว่า 15 ปีที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ป่าได้มีเตือนถึงปัญหาการค้าเต่าดาวอินเดียภายในประเทศจะต้องถูกแก้ไข ก่อนที่ปัญหาการลักลอบขายเต่าดาวอินเดียจะกลายเป็นที่ยอมรับว่าเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ”

“เป็นเรื่องที่น่าเศร้าอย่างมากว่าสิ่งที่เรากลัวที่สุดได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการกระทำที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากชุมชนในชนบทที่ยากจน โดยที่คนในชุมชนไม่ได้ตระหนักว่าการกระทำของพวกเขาส่งผลต่อสวัสดิภาพและการอนุรักษ์เต่าเหล่านี้"

เต่าดาวอินเดียเป็นที่รู้จักเนื่องจากลักษณะแบบ 'ดวงดาว' แผ่นกระดองซึ่งทำหน้าที่อำพรางตัวเวลาใช้ชีวิตในป่า อย่างไรก็ตามลักษณะแบบเดียวกันนี้ก็ทำให้พวกมันเป็นที่นิยมสำหรับนักสะสมทั่วโลกในฐานะสัตว์เลี้ยง

นางสุภาภรณ์ ลาสต์ ผู้อำนวยการองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World animal Protection) ประเทศไทย กล่าวว่า:

“ทั้งที่มีการรณรงค์ในการปกป้องสัตว์เริ่มขึ้นในอินเดียตั้งแต่ช่วงปี 1970 แต่ดูเหมือนช่องโหว่ทางกฏหมายในประเทศอาเซียน อาทิ ประเทศไทย และ จีน ส่งผลให้ความพยายามของอินเดียที่จะบังคับใช้กฏหมายนี้เป็นไปได้ยาก พวกสัตว์เหล่านี้ถูกลักลอบนำออกนอกประเทศโดยให้อยู่ในพื้นที่จำกัด และไม่ได้รับการดูแลใส่ใจในเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์เหล่านี้เลย”

“องค์กรให้ความสนใจเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานที่เต่าเหล่านี้ต้องเผชิญอยู่ โดยร่วมมือกับหน่วยปราบปรามอาชญกรรมระหว่างประเทศเพื่อให้มีองค์กรที่สามารถเข้าช่วยเหลือและคัดค้านการก่ออาชญากรรมเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“เพื่อเป็นการช่วยเหลือเต่าดาวอินเดียไม่ให้สูญพันธ์ และปิดช่องโหว่ทางกฏหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าได้เรียกร้องให้มีการร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างหน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมายแห่งชาติและหน่วยงานในประเทศไทย เพื่อประกาศห้ามไม่ให้มีเต่าดาวอินเดียไว้ในครอบครองโดยบังคับใช้กฏหมายท้องถิ่น ให้ครอบคลุมถึงสัตว์พันธุ์อื่นๆที่แม้จะไม่ได้มีต้นกำเนิดในท้องถิ่นนั้นๆ”