Monkey at cruel venue holding pink umbrella. Amy Jones / Moving Animals

ผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ต้องยุติขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าโดยด่วน!

ข่าว

รายงานล่าสุดจากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกพบจุดอ่อนการบังคับใช้กฎหมายของผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ส่งผลให้สัตว์ป่ายังคงถูกล่าจากป่า

Header image credit: Amy Jones / Moving Animals

เพื่อนำมาเป็นสินค้าซื้อขายต่อเนื่อง และเสี่ยงทำให้ประชากรโลกต้องรับมือกับโรคระบาดอีกครั้งในอนาคต

สัตว์ป่าหลายพันชีวิตถูกล่าจากป่าเพื่อนำมาเป็นสินค้าซื้อขายในตลาดมืดที่มีมูลค่ามากกว่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งในรูปแบบอาหาร สัตว์เลี้ยง เครื่องประดับตกแต่ง ต้นตำรับยาแพทย์แผนโบราณ รวมถึงการบังคับใช้สัตว์เป็นเครื่องมือเพื่อให้ความบันเทิงแก่มนุษย์

วงจรนี้จะยิ่งทำให้มนุษย์ทั่วทุกมุมโลกอาจต้องเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์ป่าสู่คนอย่างไม่รู้จบ

รายงาน 'Protecting our world from future pandemics' เผยว่า การที่ผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ยังไม่มีกลไกบริหารที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะหยุดยั้งเครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่า ยุติฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า รวมถึงการฆ่าและนำสัตว์ป่ามาเป็นสินค้าซื้อขาย

ซึ่งการปล่อยปละละเลยต่อสถานการณ์ลักลอบค้าสัตว์ป่าอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านสาธารณะสุขได้ดังนี้:

  • หน่วยงานกำกับดูแลขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า หรือ “ไซเตส” (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) ยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายแน่ชัดในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์ป่าสู่คน
  • การจัดตั้งจุดเฝ้าระวัง-ตรวจโรคสัตว์ป่านำเข้ายังมีน้อย หรือแทบไม่มีเลย จนทำให้เชื้อโรคจากสัตว์ป่าเคลื่อนที่ไปได้ทั่วโลก
  • ยิ่งมีจำนวนคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่การค้าสัตว์ป่ามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสการเคลื่อนที่ของโรคติดเชื้อมากเท่านั้น

Kelly Dent ผู้อำนวยการด้านพันธกิจสัมพันธ์กับองค์กรชุมชนหรือหน่วยงานภายนอก (External Engagement) จากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกกล่าวว่า : "ร่างความตกลง หรือการบังคับใช้กฎหมายเพื่อยุติขบวนการค้าสัตว์ป่าของกลุ่มผู้นำประเทศ G20 ยังไม่เข้มแข็งมากพอ และในหลายครั้ง ก็ส่งผลเสียมากกว่าผลดีด้วยซ้ำ

"สัตว์ป่ายังคงถูกเอารัดเอาเปรียบจากทุกขั้นตอนของขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า พวกมันต้องเผชิญกับภาวะตึงเครียด หลังถูกพรากจากป่า บ้านหลังเดียวของพวกมัน และถูกจับยัดใส่กรงขังร่วมกับสัตว์ตัวอื่น ๆ มันไม่น่าแปลกใจ หากสัตว์ป่าหลายตัวตายระหว่าง หรือไม่สบายหนักก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางของการขนส่ง"

"ในขณะที่สังคมโลกให้ความสนใจกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แนวทางการป้องกันเชื้อไวรัสควรเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากโลกใบนี้มีไวรัสจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 320,000 ชนิด"

"อนาคตของสัตว์ ผู้คน และเศรษฐกิจโลกอยู่ในมือของผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ผู้ทำหน้าที่ร่างและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติสำหรับการป้องกันโรคระบาด และช่วยป้องกันสัตว์ป่าจากการตกเป็นเหยื่อของขบวนการลักลอบได้"

รายงานฉบับนี้ เกิดขึ้นหลังจากองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเรียกร้องให้ยุติการนำสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาผลิตเป็นอาหารและจัดจำหน่ายในตลาดสด เนื่องจากงานศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่นั้นชี้ให้เห็นว่า ต้นกำเนิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) อาจมาจากเชื้อไวรัสของค้างคาวที่ส่งต่อมายังสัตว์ป่าสายพันธุ์ใกล้ชิดอื่น

เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

เราขอเรียกร้องให้ผู้นำกลุ่มประเทศ​ G20 เอาจริงเอาจังกับการจัดการช่องโหว่ทางกฎหมายที่เอื้อให้เกิดขบวนการค้าสัตว์ป่า พร้อมออกแบบแนวทางปฏิบัติที่จะช่วยสังคมโลกยุติเครือข่ายค้าสัตว์ป่า และอธิบายถึงความจำเป็นที่สถานการณ์การค้าสัตว์ป่าควรเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต้องหันมาให้ความสนใจมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศออสเตรเลียที่ประกาศให้นักล่าที่ได้รับอนุญาตสามารถล่าจิงโจ้เพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ แต่การล่าสัตว์ป่าเพื่อการค้าเป็นการกระทำผิดกฎหมายปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2515 หรือ Wildlife Protection Act (1972) ในประเทศอินเดีย

ในเวลาเดียวกัน ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อการค้าในกลุ่มประเทศ G20 อาทิ บราซิล แคนาดา และแอฟริกาใต้ ยังคงเป็นประเด็นที่น่ากังวล เพราะอาจนำไปสู่การระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์ป่าสู่คน

รายงานยังได้แสดงตัวอย่างของกฎหมายบางตัวของประเทศในกลุ่ม G20 ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจตามมา

วันนี้ เรามีผู้สนับสนุนทั่วโลกร่วมลงชื่อกับเราแล้วมากกว่า 1.1 ล้านคน และเราขอเรียกร้องให้ผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ยุติการค้าสัตว์ป่าท่ามกลางการระบาดของโควิด-19

ในขณะที่สังคมโลกให้ความสนใจกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แนวทางการป้องกันเชื้อไวรัสควรเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากโลกใบนี้มีไวรัสจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 320,000 ชนิด