ภัยจาก 'เชื้อดื้อยา' ร้ายแรงยิ่งกว่าโรคมะเร็ง

ข่าว

มนุษย์คิดค้นอาวุธหลายรูปแบบเพื่อเอาชนะภัยอันตรายต่าง ๆ รวมถึงการเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บ

การคิดค้น “ยาปฏิชีวะ” จึงเกิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์มีชีวิตรอดต่อไป แต่วันนี้ การใช้ยาปฏิชีวะอย่างไม่ถูกวิธี และการปนเปื้อนของยาปฏิชีวะในอาหารและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ยาที่เคยปกป้องเราด้วยการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กำลังกลายเป็นภัยเงียบที่กำลังฆ่าพวกเราเสียเอง

ถึงแม้ว่าสถิติในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะชี้ให้เห็นว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 16 ของต้นเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด มีผู้ป่วยใหม่และผู้เสียชีวิตกว่าแสนคนต่อปี

นายแพทย์ฮอนโจะ ทะสุกุ (Tasuku Honjo) นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต (University of Kyoto) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสาขาสีรศาสตร์และการแพทย์ปี 2561 และผู้ค้นคว้าวิธีรักษามะเร็งด้วยการใช้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายกล่าวว่า อีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า มะเร็งจะเป็นโรคที่รักษาให้หายได้

แต่ภัยจากการใช้ยาปฏิชีวะแบบผิด ๆ และการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา กำลังกลายเป็นวิกฤตที่มนุษย์ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป

‘การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น’ ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์

ยาปฏิชีวนะ คือยาที่ช่วยชีวิตคนจากโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่ปัจจุบันนี้ บทบาทของยาปฏิชีวนะเปลี่ยนไป

โดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์จำนวนมากที่อยู่รวมกันในพื้นที่แออัด ล้มป่วยลงทั้งคอก และเพื่อให้สัตว์มีเนื้อในปริมาณที่เยอะมากพอกับความต้องการก่อนส่งสัตว์เข้าโรงเชือด ซึ่งทั้งสองสาเหตุมีผลต่อรายได้มหาศาลของผู้ประกอบการ

sick people

จากการสำรวจขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกพบว่า 3 ใน 4 ของยาปฏิชีวนะทั้งหมดที่ใช้ในโลกถูกใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยประมาณ 40 – 80% ของการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ถูกจำแนกว่า เป็นการใช้โดยไม่มีความจำเป็น หรือเป็นการใช้อย่างไร้ความรับผิดชอบ 

การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นทำให้ประสิทธิภาพของยาเสื่อมถอย และเริ่มใช้ไม่ได้ผลในการรักษาการติดเชื้อ ส่งผลให้มนุษย์มีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อมากขึ้น

ในแต่ละปี มีคนไทย 87,7051 รายติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา และเสียชีวิตลงปีละ 42,509 ราย ซึ่งอัตรานี้ถือว่าสูงกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปประมาณ 6 เท่า คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมสูงถึง 4.6 หมื่นล้านบา

วิกฤตเชื้อดื้อยา เนื้อสัตว์บนโต๊ะอาหาร และความเป็นความตายของผู้บริโภค

ความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์นั้นเป็นผลมาจากความต้องการเนื้อสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นในราคาที่ถูกของผู้บริโภคทั่วโลก

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) พบว่า สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะในปัจจุบันมีความซับซ้อนขึ้น เพราะฟาร์มเลี้ยงสัตว์นำยาปฏิชีวนะไปใช้ทั้งในสัตว์และแม้แต่พืช อย่างส้ม กุ้ง ปลา และหมู ในปี พ.ศ. 2561

caged_chicken_2

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตรวจพบ การตกค้างของยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในร้อยละ 40 ของเนื้อไก่และตับไก่ที่วางขายในห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และผ่านร้านค้าออนไลน์ นั้นหมายความว่าเกือบครึ่งนึงของผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ที่เรากินกันในปัจจุบันมาจากไก่ที่ได้รับยาปฏิชีวนะระหว่างการเลี้ยงดู

อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2561 ทางองค์กรฯ สำรวจพบว่า คนไทยมากถึง 95% มองว่า สุขภาพกายและสุขภาพใจของไก่ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก และจะรู้สึก ‘ไม่โอเค’ ทันที หากรู้ว่า ไก่ต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานก่อนถูกนำมาผลิตเป็นอาหาร

ตัวเลขคนไทยที่ต้องการเนื้อไก่จาก ‘ฟาร์มที่มีมาตรฐานสวัสดิภาพสูง’ ถึงแม้ราคาเนื้อไก่จะสูงขึ้น ก็ขยับขึ้น 7% จากปีที่เริ่มทำการสำรวจ มาอยู่ที่ 77% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคพร้อมจ่ายสูงขึ้น หากไก่มีคุณภาพชีวิตดีกว่า 

นอกจากความเสี่ยงจากการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มอย่างไม่จำเป็นแล้ว ทุกวันนี้ ยังมีไก่กว่า 40,000 ล้านตัวในฟาร์มเลี้ยงทั่วโลก ยังต้องทุกข์ทรมานจากการถูกคัดเลือกสายพันธุ์เร่งโต ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดคับแคบ ไม่ได้รับแสงแดดจากธรรมชาติ รวมถึงไม่สามารถแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ตลอดชีวิต

มาร่วมลงชื่อเพื่อยุติความทรมานต่อไก่ได้ที่นี่