pork

เนื้อหมูราคาแพง... ควรจะจบลงที่ไหน?

บล็อก

By

นับเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปี ที่เนื้อหมูราคาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากปัญหาโรคระบาด ASF และด้วยกระแสความไม่โปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐที่ปกปิดข้อมูลด้านโรคระบาดมานานหลายปี ได้ส่งผลให้หลายฝ่ายต้องรับผลกระทบเต็มๆ จากการจัดการกับหมูที่ติดโรค กลุ่มผู้ผลิตเนื้อหมูต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ ในขณะที่หมูต้องเสียชีวิตไปกว่าครึ่งประเทศ และเรื่องหมูๆ จะจบอยู่ที่ราคาแพงแค่นี้หรือ?

หากเรามามองดูกันดีๆ นอกจากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องของความไม่โปร่งใสที่กล่าวมา ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการเอื้อผลประโยชน์ระหว่างภาครัฐกับบริษัทผู้ผลิตที่อาจเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัญหาเชิงระบบที่ใหญ่กว่า ทำให้เกิดคำถามตามมาอีกมากมายว่าเรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร แท้จริงแล้วระบบการผลิตอาหารของเรามีความมั่นคงมากแค่ไหน และรากของปัญหาที่แท้จริงคืออะไร

environmental impact

การผลิตเนื้อสัตว์ขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่า 5 เท่า

เมื่อเทียบกับ 55 ปีที่แล้ว จากฟาร์มเล็กๆ หลังบ้านกลายมาเป็นการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Factory Farming) ที่สัตว์ถูกมองว่าเป็นเครื่องจักรมากกว่าเป็นสิ่งมีชีวิต การเลี้ยงอยู่ภายใต้ ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นไปที่ปริมาณและต้นทุนที่ต่ำ มากกว่าการมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร ต้องแลกด้วยความทุกข์ทรมานของสัตว์ สุขภาพของผู้บริโภค และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในแต่ละปีมีสัตว์ฟาร์มจำนวนกว่า 7 หมื่นล้านตัวทั่วโลกถูกเลี้ยงเพื่อการบริโภค ส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงแบบรวมกลุ่ม ถูกกักขังในสภาพแวดล้อมที่แออัดคับแคบ สัตว์เหล่านี้ตกอยู่ในสภาพที่ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระหรืออยู่ตามธรรมชาติได้ เช่น การเลี้ยงแม่หมูในกรงขัง การตัดตอนอวัยวะลูกหมู การเลี้ยงไก่ในโรงเรือนอย่างแออัด และการปรับปรุงพันธ์ไก่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมากจนยืนแทบไม่ได้ สภาพแวดล้อมอันเลวร้ายและการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างโหดร้ายทารุณล้วนสร้างความทุกข์ทรมาน และก่อให้เกิดความเครียดแก่สัตว์เป็นอย่างมาก และเมื่อสัตว์ที่อยู่ในฟาร์มอยู่ในสภาวะที่มาความเครียดสูงและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัดคับแคบ จะส่งผลให้สัตว์ป่วย และเกิดโรคระบาดได้ง่าย อุตสาหกรรมฟาร์มจึงให้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องเพื่อการป้องกันโรคแบบเหมารวมทั้งสัตว์ที่ป่วยและไม่ป่วยอย่างเกินความจำเป็น แต่ในทางกลับกัน สัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงในฟาร์มที่มีสวัสดิภาพสูงจะมีสุขภาพดีกว่า มีภูมิต้านทานโรคได้ดีกว่า และแทบไม่ต้องพึ่งพายาปฏิชีวนะ

ตัวเลขที่น่าตกใจเผยให้เห็นว่า กว่า 3 ใน 4 ของ ยาปฏิชีวนะ ทั้งหมดบนโลกถูกใช้ในการทำฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าการใช้ในมนุษย์เสียอีก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะหรือ ซุปเปอร์บั๊กส์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็นในฟาร์มอุตสาหกรรม จะเข้ามาปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพคนอย่างรุนแรง ทำให้ในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากแบคทีเรียดื้อยากว่า 700,000 คนต่อปี และในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 38,000 คน หรือ 1 คนในทุกๆ 15 นาที  นี่คืออีกรากของปัญหาที่ไม่จบอยู่ที่แค่ราคาหมูแพง สุขภาพของคุณก็จะต้องจ่ายแพงเพิ่มขึ้นไปอีกด้วย

environmental impact

ไม่เพียงแค่ผลกระทบต่อสัตว์ฟาร์มที่มีชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน และส่งผลต่อมายังสุขภาพของคนเท่านั้น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอมก็ยังมีให้เห็นอีกมากมาย งานวิจัยชี้ให้เห็นว่ากว่าร้อยละ 18 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นตัวการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนมาจากการทำฟาร์มปศุสัตว์ นี่ยังไม่รวมถึงมลพิษและของเสียจากฟาร์มที่ถูกปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อม หรือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำพื้นที่มาเพาะปลูกอาหารสัตว์

ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่เราต้องหันมาให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

เพื่อร่วมกันสร้างระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรม ทั้งกับมนุษย์ สัตว์ และโลกใบนี้ สัตว์ที่มนุษย์นิยามว่าเป็นอาหารก็ควรจะต้องได้รับสวัสดิภาพที่ดี ได้รับการดูแลปฏิบัติอย่างอิสระตามธรรมชาติก่อนที่จะมาสู่จานอาหารของเรา การยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มที่มีอยู่ให้สูงขึ้น นอกจากจะทำให้สัตว์มีชีวิตที่ดีขึ้น ยังช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะอันเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเกิดเชื้อดื้อยาที่สร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาลได้  รวมทั้งการมองทางเลือกโปรตีนทดแทนอื่นๆ ที่มาจากพืชเพิ่มขึ้น ที่จะไม่เป็นเพียงแค่กระแสหรือเทรนด์อีกต่อไป และคงไม่ใช่แค่ใคร หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอีกต่อไปแล้ว ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนต้องร่วมมือกันในการปรับเปลี่ยนนโยบายและพฤติกรรมการบริโภค เพื่อชะลอการเกิดใหม่และการขยายตัวของอุตสาหกรรมแบบ Factory Farm และยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มที่มีอยู่ให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้ฟางเส้นสุดท้ายจากโรคระบาด AFS ส่งผลต่อราคาหมูแพง และนำไปสู่โรคระบาดอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงได้อีกในอนาคต

environmental impact

ในวันที่เนื้อหมูราคา สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบสิบปี ตามมาด้วยกระแสเรื่องโรค ASF และความไม่โปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐในการปกปิดข้อมูลด้านโรคระบาดมานานหลายปี ส่งผลให้หลายฝ่ายต้องรับผลกระทบเต็มๆ จากการจัดการกับหมูที่ติดโรคบวกกับราคาเนื้อหมูที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง และมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีกระยะหนึ่ง อุตสหกรรมการผลิตเนื้อหมูต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ ในขณะที่หมูต้องเสียชีวิตไปกว่าครึ่งประเทศ

ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคและร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากเหตการณ์นี้ แต่ผู้ผลิตเนื้อหมูรายย่อยและรายกลางต้องเผชิญกับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะการขาดทุน หลายรายจำใจต้องปิดฟาร์มเพราะหมูตายเกือบหมดและรับภาระทางการเงินไม่ไหว

คำถามคือ... เพราะเหตุใดปัญหามันถึงเลยเถิดและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางขนาดนี้ได้?

หากเรามามองดูกันดีๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องของความไม่โปร่งใส ที่หลายหน่วยงานตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการเอื้อผลประโยชน์ระหว่างภาครัฐกับบริษัทผู้ผลิตนี้อาจเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัญหาเชิงระบบที่ใหญ่กว่า และทำให้เกิดคำถามตามมาอีกมากมายว่าเรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไรและแท้จริงแล้วระบบการผลิตอาหารของเรามีความมั่นคงมากแค่ไหนและมันถึงเวลาหรือยังที่เราจะเลิกพึ่งพาระบบอาหารแบบนี้

วันนี้การผลิตเนื้อสัตว์ขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับ 55 ปีที่แล้ว จากฟาร์มเล็กๆหลังบ้าน กลายมาเป็นการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (factory farming) ที่สัตว์ถูกมองว่าเป็นเครื่องจักรมากกว่าเป็นสิ่งมีชีวิต การเลี้ยงอยู่ภายใต้ ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นไปที่ปริมาณและต้นทุนที่ต่ำมากกว่าการมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร ต้องแลกด้วยความทุกข์ทรมานของสัตว์ สุขภาพของผู้บริโภคและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

จนถึงวันนี้... เนื้อหมูก็ยังราคาแพงและไม่มีทีท่าว่าจะลดลง และมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีกระยะหนึ่ง

More about