จดหมายเปิดผนึกร่วมถึง ฯพณฯ ท่านว่าที่นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย และว่าที่สมาชิกผู้แทนราษฏร

จดหมายเปิดผนึกร่วมถึง ฯพณฯ ท่านว่าที่นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย และว่าที่สมาชิกผู้แทนราษฏร

ข่าว

เรื่อง ขอให้พิจารณาผ่านกฏหมายปกป้องและคุ้มครองช้างไทย

เรียน ฯพณฯ ท่านว่าที่นายกรัฐมนตรี และว่าที่สมาชิกผู้แทนราษฏร

 

สถานที่ท่องเที่ยวที่ใช้ช้างเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของช้างที่เคยทำงานลากซุงในอดีต ในปี พ.ศ. 2550 ประเทศไทยมีช้างเลี้ยงที่จดทะเบียนมากกว่า 2,779 เชือก1 ช้างเหล่านี้ถูกนำมาทำกิจกรรมขี่ช้าง การแสดงช้างประเภทต่างๆ การใช้งานช้างทั้งวัน แต่กิจกรรมเหล่านี้แฝงไปด้วยความทุกทรมานของสัตว์ นับเนื่องจากกระบวนการที่นำช้างมาใช้งานเหล่านี้ต้องผ่านการฝึกตั้งแต่ลูกช้างยังเล็กๆ ด้วยการผูกติดในกรงไม้แคบเป็นระยะเวลานานเพื่อทำการฝึกและหากไม่เชื่อฟังจะถูกทำร้ายอย่างรุนแรงนับตั้งแต่ ใช้ตะขอสับหัว การทุบตี การช๊อตไฟฟ้า รวมไปถึงการไม่ป้อนอาหาร การถูกล่ามโซ่สั้นๆ เป็นระยะเวลานาน รวมทั้งอยู่ในสถานที่ที่ถูกละเลยไม่ใส่ใจ สวัสดิภาพเช่น อยู่บริเวณลานปูนร้อนๆที่ไม่มีร่มไม้กำบัง ซึ่งจากผลการศึกษาขององค์กรฯยังพบว่ายังมีการกระทำในลักษณะนี้บ่อยครั้ง รวมถึงการทำร้ายช้างที่ถูกบันทึกได้และเผยแพร่ทางสื่อ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2558 ราวร้อยละ 80 ของช้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยถูกเลี้ยงในสภาพที่สวัสดิภาพสัตว์ย่ำแย่ ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพสะท้อน ปรากฏการณ์ปัญหา เสมือนปัญหา ใต้ภูเขาน้ำแข็งหรืออาจจะเรียกว่า ปัญหาช้างในห้อง(Elephant in Room) คือปัญหามีอยู่จริงแต่ไม่ใส่ใจไม่ใส่ใจของรัฐบาลที่ผ่านมาในการแก้ปัญหาช้างเลี้ยงในประเทศไทย

นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว จากการศึกษาขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ยังพบว่า กฏหมายที่ใช้เกี่ยวข้องกับช้าง ไม่ว่าจะเป็น พ..บ สัตว์พาหนะ พ.. 2482 ..บ รักษาช้างป่า พ..2464 หรือกฏหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ พบว่า กฏหมายมีความล้าสมัยเป็นอย่างมาก ไม่ทันต่อการการกระแสลมการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เน้นการท่องเที่ยวที่คำนึง ถึงคน สัตว์ และโลก มากขึ้น ซึ่งพบว่ามีกฏหมายมากกว่า 56 ประเทศที่ประกาศยกเลิกการนำสัตว์มาใช้แสดง รวมทั้งบริษัทท่องเที่ยวต่างๆที่ประกาศยกเลิกการส่งเสริมนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมการแสดงโชว์สัตว์ ซึ่งเกิดจากกระแสของการอยู่รวมกัน แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มากไปกว่านั้นหากพิจารณาอย่างที่ถ้วนแล้ว ที่น่าสะทกสะท้อนใจคือกฏหมายทุกฉบับ มีจุดประสงค์ในการนำช้างมาหาประโยชน์เป็นหลัก และยังไม่มีกฏหมายที่ลุกขึ้นมาปกป้องช้างสัตว์ประจำชาติตัวนี้ และสัญญาณการคว่ำบาตรในเชิงเศรษฐกิจต่อประเทศไทย มีให้เห็นแล้วในกรณีลิงกะทิ ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าหากไม่มีการเร่งรัดเพื่อให้มีนโยบายเชิงกฏหมายเพื่อเป็นมาตรการรองรับสวัสดิภาพช้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเหล่านี้ น่าเป็นห่วงว่าเมื่อการท่องเที่ยวกลับมาหากไม่มีการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ ฉากทัศน์อันใกล้ประเทศไทยอาจถูกมาตราการลงโทษต่างๆจากต่างประเทศและก่อให้เกิดความเสียหายระยะยาวต่อตระกร้าเงินใบเดียวคือการท่องเที่ยวในประเทศไทยในอนาคตได้

ความปราถนาดีต่อประเทศไทย และสวัสดิภาพสัตว์ ขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ภาคีเครือข่าย และประชาชนตื่นรู้กว่า 16,000 ภายในระยะเวลาเพียง 1 อาทิตย์ที่เปิดโอกาสให้ร่วมลงชื่อเสนอกฏหมาย ร่าง พ..บ ปกป้องและคุ้มครองช้างไทย เพื่อเป็นการพัฒนาสวัสดิภาพช้างทั้งระบบ รวมทั้งการพัฒนาสวัสดิภาพช้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้มาตราฐานนานาอารยะประเทศ ตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 หรือเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้วยังไม่เป็นผล เมื่อพ.ร.บ ปกป้องและคุ้มครองช้างไทย ยังไม่มีโอกาสที่จะเข้าพิจารณาวาระหนึ่งในรัฐสภาเนื่องจากติดขั้นตอนการลงนามรับรองจากนายกรัฐมนตรีซึ่งนับเป็นเรื่องเศร้าประการหนึ่ง

อย่างไรก็ตามก้าวต่อไป ขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ภาคีเครือข่ายและประชาชนที่ร่วมลงชื่อกฏหมาย ตั้งใจที่จะผลักดันกฏหมายฉบับนี้ให้ได้ในรัฐบาลและรัฐสภาชุดหน้าโดยมีข้อเสนอเชิงนโยบายถึงท่านว่าที่นายกรัฐมนตรีและว่าที่สมาชิกผู้แทนราษฏร ดังนี้

  1.  พิจารณารับหลักการร่างพระราชบัญญัติปกป้องและคุมครองช้างไทยโดยด่วนหลังสภาเปิดประชุมหลังเลือกตั้ง
  2. ภาคีเครือข่ายผู้ริเริ่มกฏหมายดังกล่าวพร้อมที่จะทำงานกับพรรคการเมืองเพื่อเสนอเป็นนโยบายพรรคการเมืองต่อไปในประเด็นดังกล่าว
  3. ภาคีเครือข่ายพร้อมที่จะทำงานกับสมาชิกรัฐสภาจำนวน 25 ท่านเพื่อพิจารณาเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่สภาต่อไป

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

 

* 1 ตัวเลขจากการศึกษาขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกในปี 2562 ที่ยังไม่ได้เผยแพร่