peas-plant-based-diet

ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อสนับสนุนเนื้อสัตว์จากพืช (Plant-based)

ข่าว

หลังรายงานจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ส่งสัญญาณ “เตือนภัยสีแดงต่อมนุษยชาติ” สนธิสัญญาฉบับนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้ผู้นำทั่วโลกเร่งแก้ไขและปฏิรูป ‘ระบบผลิตอาหาร’ หนึ่งในต้นตอสำคัญของวิกฤตภูมิอากาศโลก

ขณะนี้ มีสัตว์ฟาร์มมากกว่า 7 หมื่นล้านตัวถูกเลี้ยงเพื่อการบริโภค โดยกว่า 5 หมื่นล้านตัวต้องใช้ชีวิตอยู่ในฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม พวกมันถูกปฏิบัติเหมือนเป็นเพียงเครื่องจักรสำหรับการผลิตเท่านั้น ไม่ได้รับอิสระในการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นยังมีช่วงชีวิตที่สั้น และต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมาน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในกรง ลัง หรือคอกที่แออัดคับแคบ

เพื่อหยุดยั้งความทุกข์ทรมานที่สัตว์ต้องเผชิญ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อสนับสนุนเนื้อสัตว์จากพืช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการปฏิรูประบบผลิตอาหารในปัจจุบันที่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเพื่อยุติการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวยังต้องการให้เกิดการรวมกลุ่มของบรรดาผู้นำโลกเพื่อร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงบนหลักการ 3 ประการ ดังนี้:  

ยุติ: การบุกรุกพื้นที่ป่าทั่วโลกเพื่อขยายพื้นที่ทางการเกษตร 

กำหนดทิศทางใหม่สู่: ระบบผลิตอาหารที่ทำมาจากพืชทดแทนเนื้อสัตว์ เพื่อลดการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม  

ฟื้นฟู: ระบบนิเวศและคืนความสมดุลให้ผืนป่าทั่วโลก

เป้าหมายของสนธิสัญญานี้ คือการหยุดยั้งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่เกิดขึ้นจากการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม และสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาเลือกทานเนื้อสัตว์จากพืชที่มีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพแทน

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของผู้คนทั่วโลกจะช่วยพลิกโฉมระบบผลิตอาหาร สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตของสัตว์ที่ถูกเลี้ยงในฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมนับล้านตัว และปกป้องแหล่งทรัพยากรที่จะเอื้อต่อการทำปศุสัตว์ขนาดเล็กลงและใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์มากขึ้น

Plant based tacos on a round plate.

Elodie Guillon, Network Manager องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า 

“องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกร่วมลงนามในสนธิสัญญานี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เรายังต้องการให้รัฐบาลทั่วโลกรวมตัวกันเพื่อหาหนทางยับยั้งผลกระทบซึ่งเกิดจากการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมต่อสวัสดิภาพสัตว์ และสุขภาพมนุษย์ เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคที่มุ่งเน้นความยั่งยืนและผู้คนที่หันมาเลือกทานเนื้อสัตว์จากพืชมากขึ้น”

สนธิสัญญาเนื้อสัตว์จากพืชจะช่วยหนุนในข้อตกลงปารีส และสามารถใช้เป็นกรอบการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคปศุสัตว์และเกษตรกรรมได้ อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมสู่การผลิตเนื้อสัตว์ที่เป็นธรรม มีมนุษยธรรม และเกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม”

Join us

ร่วมกันยุติการขยายตัวของการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ทั่วโลกต้องทุกข์ทรมาน ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ หันมาสนับสนุนเนื้อสัตว์จากพืชมากขึ้น  และร่วมลงนามในสนธิสัญญาเพื่อส่งเสริมการบริโภคเนื้อสัตว์จากพืช

สนธิสัญญาเนื้อสัตว์จากพืชจะช่วยขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมสู่การผลิตเนื้อสัตว์ที่เป็นธรรม มีมนุษยธรรม และเกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม