Cows

คุณทราบไหมว่าต้นทุนของการผลิต ‘เบอร์เกอร์’ ที่แท้จริงคืออะไร?

ข่าว

เมื่อทุกสายตาจับจ้องไปที่ COP26 เราจึงได้พิจารณาวิธีเพลิดเพลินกับอาหารจานโปรดของโลกโดยไม่ทำร้ายโลก

แฮมเบอร์เกอร์ หรือเรียกกันอย่างติดปากว่า ‘เบอร์เกอร์’ เป็นหนึ่งในอาหารจานด่วนที่ได้รับความนิยมทั่วทุกมุมโลก ทั้งในรูปแบบนั่งรับประทานที่ร้าน นำกลับบ้าน หรือแค่ถ่ายรูปใส่ฟิลเตอร์สวยๆ แล้วโพสต์บนโซเชี่ยลมีเดีย หลายคนต่างตกหลุมรักรสชาติของก้อนเนื้อแหล่งโปรตีนที่สอดแทรกอยู่ระหว่างขนมปัง 2 แผ่นนี้

ต้นกำเนิดของเบอร์เกอร์เกิดขึ้นในช่วงจุดเปลี่ยนศตวรรษ และเริ่มได้รับความนิยมนับตั้งแต่นั้น เมนูสำหรับเบอร์เกอร์เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงเมนูเบอร์เกอร์แบบเวจจี้ (Vegetarian) และวีแกน (Vegan) ที่นับวันจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนมีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ.2563

นับเป็นข่าวดีของผู้ที่ยังคงชื่นชอบเบอร์เกอร์แต่ไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของวงจรภาวะโลกร้อน อุตสาหกรรมปศุสัตว์ถูกบันทึกให้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรทั่วโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตเนื้อวัวคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 41% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากภาคปศุสัตว์ทั่วโลก2 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่ต่างจากการผลิตเนื้อไก่ ในแต่ละปี ถั่วเหลืองและธัญพืชถูกเร่งผลิตเพื่อเลี้ยงไก่เนื้อจำนวนหลายพันตัวทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่า ความยั่งยืนตลอดกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ยังเป็นเรื่องที่ห่างไกล อีกทั้งการผลิตเนื้อสัตว์ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกสูงถึง 18% ซึ่งมากกว่าภาคการขนส่ง

การทำปศุสัตว์ยังมีผลกระทบอื่นที่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือการทำลายผืนป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ก๊าซจากมูลสัตว์ที่มีศักยภาพทําให้เกิดสภาวะโลกร้อน การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไร้ความรับผิดชอบ ความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคระบาด และผลกระทบเชิงลบอีกมากมาย

Vegan burger

กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ยังสร้างความกังวลในแง่สวัสดิภาพสัตว์ด้วยเช่นเดียวกัน แต่สัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมต้องทนทุกข์ทรมาน ถูกจับขังให้อยู่รวมกันอย่างหนาแน่น โดยไม่ได้รับแสงจากธรรมชาติเพียงพอ และถูกเพาะพันธุ์ให้ผลิตลูกจำนวนมากในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เหตุผลแค่นี้อาจเพียงพอที่จะทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงรสชาติแย่ ๆ ของการรับประทานเนื้อสัตว์ได้

กินเบอร์เกอร์อย่างยั่งยืนอย่างไร?

การรับประทานเบอร์เกอร์เนื้อจากพืช (Plant-based burger) สร้างผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและสวัสดิภาพสัตว์เพียงเล็กน้อย หากลองดูข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศหรือ Carbon Footprint ในส่วนผสมของเบอร์เกอร์ จาก Blonk Consultants4 จะพบว่า เบอร์เกอร์เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่สร้างผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศมากกว่าเนื้อสัตว์ที่ผลิตจากพืช 2-5 เท่า

Vegan burger

อย่างไรก็ตาม บริษัทผลิตอาหารชั้นนำอย่าง KFC, Burger King และ McDonald’s ในหลายประเทศเริ่มสร้างสรรค์เมนูเนื้อสัตว์จากพืชเพื่อตอบรับกระแสสังคมที่กำลังมาแรง บริษัทผลิตเนื้อสัตว์หลายแห่งรีแบรนด์ตัวเองเป็น “บริษัทผลิตโปรตีน” ด้วยการนำนวัตกรรมการผลิตเนื้อสัตว์จากพืชมาปรับใช้ในระบบไลน์การผลิตอาหาร

แต่ความพยายามนี้อาจไม่เพียงพอ บริษัทผลิตอาหารไม่ควรสนใจแค่การทำยอดขายจากการผลิตเมนูเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์จากพืช แต่ควรช่วยกันสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและมีมนุษยธรรมต่อสัตว์ เพื่อลดจำนวนสัตว์ในฟาร์มเชิงอุตสาหกรรม

ในขณะที่การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 สมัยที่ 26 กำลังเกิดขึ้นในเมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายใช้โอกาสการประชุมระดับโลกครั้งนี้ หารือเกี่ยวกับการผลิตสินค้าปศุสัตว์ หากปราศจากการแก้ไขปัญหาด้านนี้ เราจะไม่มีวันแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกร้อนได้สำเร็จ นโยบายควรได้รับการออกแบบเพื่อส่งเสริมและลดการผลิตสินค้าปศุสัตว์อย่างเข้มข้น (De-intensification) และควรครอบคลุมหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ภาคการเงิน และหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ

 

ต้นฉบับ: as COP26 rapidly approaches, …

เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เมื่อคุณจะกินเบอร์เกอร์อีกครั้ง อย่าลืมมองหาเมนูเนื้อสัตว์จากพืชที่มีรสชาติอร่อยไม่แพ้กัน และร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินทีละนิดเพื่อช่วยลดภาระแก่โลกใบนี้

อ้างอิง:

ihttps://gfi.org/press/plant-based-food-retail-sales-grow-27-percent-to-reach-7-billion-in-2020/

ii Key facts and findings (FAO), http://www.fao.org/news/story/en/item/197623/icode

iii Livestock’s Long Shadow (FAO), http://www.fao.org/3/a0701e/a0701e.pdf

iv Environmental impact of meat substitutes (Blonk Consultants, 2017), https://www.blonkconsultants.nl/2017/12/07/environmental-impact-of-meat-substitutes/?lang=en

The impact of a plant-based burger on the climate and animal welfare is just a fraction of its meaty counterpart.