จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ต้นทางที่ไม่น่าไว้วางใจ
ข่าว
วิกฤติการผลิตและบริโภคอาหารในปัจจุบันค่อนข้างส่งผลต่อมนุษย์เงินเดือนอย่างมาก หลากหลายผู้ผลิตอาหารมีความพยายามจะลดต้นทุนของอาหารให้มากที่สุด ซึ่งกว่า 20% เราได้ใช้จ่ายไปกับการบริโภค ซึ่งเราไม่รู้ต้นตอของแหล่งอาหารเหล่านี้ว่ามาจากไหน
หากเชื่อมโยงด้านผลิตอาหารอย่างมีความรับผิดชอบ คงต้องมีการตั้งคำถามกันอย่างยืดยาวว่า ต้นทางของการผลิตอาหารเหล่านี้มาจากไหน ดีมากน้อยแค่ไหน รวมถึงตัวผู้บริโภคเองก็ต้องมีการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบด้วยไหม
การบูรณาการระบบการผลิตอาหาร อาจจะต้องเริ่มต้นจากแหล่งผลิต เช่นเนื้อสัตว์ ปัจจุบันเรากินเนื้อสัตว์โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 120.2 กิโลกรัมต่อปี (อ้างอิงจากการรายงานข่าวมติชน) ในบ้านเรา คนไทยกินเนื้อสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22.9 กิโลกรัมต่อปี หนีไม่พ้นคือ เนื้อหมูและไก่ที่นิยมมากที่สุด รองลงมาคือเนื้อวัว
เมื่อพูดถึงเนื้อหมู เนื้อสัตว์ที่เป็นที่นิยมของคนไทย เพราะมีโปรตีนที่สำคัญ เกือบทั้งหมดของอาหารก็มักจะมีเมนูเนื้อหมูอันหลากหลายมาให้ลิ้มลองกัน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เนื้อหมูที่เรากินจะมีต้นทางที่น่าไว้ใจ สะอาด ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างมากน้อยแค่ไหน
ในฟาร์มหมูที่มีระบบการเลี้ยงดูแย่ๆ มันจะเริ่มต้นที่การขังแม่หมูในคอกที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถขยับตัวได้ จากนั้นเมื่อแม่หมูคลอดลูกออกมาไม่ถึงหนึ่งวัน ลูกหมูก็จะถูกนำไปตัดหางสดๆ โดยไม่มียาบรรเทาความเจ็บปวดใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อป้องกันการกัดหางกัน
อีกทั้งลูกหมูเหล่านี้จะถูกหย่านมจากแม่ของพวกในระยะอันสั้น ซึ่งจากเดิมการหย่านมของลูกหมูจะอยู่ที่ประมาณ 28 วันแต่ในฟาร์มอุตสาหกรรมใหญ่ๆ มักจะย่นระยะเวลาเหลืออยู่เพียงน้อยกว่านั้น ทำให้ลูกหมูเหล่านี้มีภูมิคุ้มกันต่ำและง่ายต่อการเป็นโรค
สุดท้าย เมื่อเกิดบาดแผดจากการโดนตัดหางหรือป่วยเป็นโรค ยาปฏิชีวนะก็จะถูกนำมาใช้มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ซึ่งเมื่อนำไปสู่กระบวนการทำอาหาร เชื้อเหล่านี้ก็อาจตกไปสู่ผู้บริโภคโดยไม่รู้ตัวได้
โชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ได้เน้นย้ำถึงต้นทางของเนื้อหมูจากฟาร์มที่เป็นแหล่งผลิต “เราไม่สามารถบังคับให้ทุกฟาร์มปรับเปลี่ยนเรื่องหมูได้ทั้งหมด ผู้บริโภคทำได้คือการเรียกร้องสิทธิให้กับตัวเอง ในการที่จะบริโภคเนื้อหมูที่มีความปลอดภัยจากฟาร์มที่มีการเลี้ยงหมูที่ดี
ไม่ว่าจะเป็น การเลิกขังแม่หมูในคอกมาสู่การเลี้ยงแบบรวมกลุ่ม ไม่ตัดตอนหางหมู การกรอฟัน ซึ่งนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวินะจำนวนมหาศาลในฟาร์ม หากผู้บริโภคได้รับทราบสิ่งเหล่านี้ ก็จะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ผู้ผลิต เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงหมูในฟาร์มให้ดียิ่ง มีสวัสดิภาพของสัตว์ที่ดีมากขึ้น ผลสุดท้าย ก็จะไปนำไปสู่ความยั่งยืนของระบบอาหาร”
“เราไม่สามารถบังคับให้ทุกฟาร์มปรับเปลี่ยนเรื่องหมูได้ทั้งหมด ผู้บริโภคทำได้คือการเรียกร้องสิทธิให้กับตัวเอง ในการที่จะบริโภคเนื้อหมูที่มีความปลอดภัยจากฟาร์มที่มีการเลี้ยงหมูที่ดี