JBS compra granos de areas deforestadas en Brasil

บริษัทเจบีเอส (JBS) ยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตเนื้อสัตว์ของโลก ติดอันดับสูงสุดตัวการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำลายสภาพภูมิอากาศจากการจัดอันดับความอัปยศหรือ Scorecard of Shame ล่าสุด

ข่าว

บริษัท เจบีเอส (JBS) ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ยักษ์ใหญ่ของโลกจากบราซิล เป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดจากตัวชี้วัดการทำลายสภาพภูมิอากาศด้วยการทำฟาร์มอุตสาหกรรม หรือ Factory Farming Climate Culprits Scorecard ขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

ตัวชี้วัดความอัปยศที่เผยแพร่ในวันนี้ จัดอันดับฟาร์มอุตสาหกรรมห้าอันดับแรกของโลก โดยพิจารณาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตเนื้อไก่และเนื้อหมูขนานใหญ่ (เมื่อรวมกันแล้ว บริษัทเหล่านี้ฆ่าไก่ทั้งหมด 11,500 ล้านตัว และหมู 150 ล้านตัว ต่อปี) และเปรียบเทียบกับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ทั่วโลก

 Illegal fire burn forest trees in the Amazon rainforest, Brazil.

บริษัทเจบีเอสเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณการปล่อยจากรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนน 14 ล้านคันในแต่ละปี ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าการปล่อยจากฟาร์มอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองดับเบิ้ลยูเอชกรุ๊ปของจีน (China’s WH Group) ถึงสองเท่า

ตัวชี้วัดแสดงให้เห็นว่า บริษัทดังกล่าวอยู่บนเส้นทางที่ยังห่างไกลจากคำมั่นสัญญาที่จะจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ เน็ตซีโร่ (net zero) ให้ได้ภายในปีพ.ศ. 2583 ตามที่บริษัทได้ประกาศต่อสาธารณะอย่างภาคภูมิใจเมื่อสองปีที่ผ่านมา

นอกจากนั้น บริษัทเจบีเอสยังไม่เปิดเผยถึงแผนการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อจัดการกับปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตอาหารสัตว์ขนานใหญ่สำหรับฟาร์มอุตสาหกรรม ซึ่งตัวชี้วัดได้แสดงให้เห็นว่า รอยเท้าอาหารสัตว์ (animal feed footprint) ของบริษัทเจบีเอสมีปริมาณเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนน 7.8 ล้านคันในแต่ละปี

pantanal-fires-response

ที่เลวร้ายไปกว่านั้น บริษัทยังไม่ยืนยันถึงแนวทางที่จะยุติการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเพื่อผลิตอาหารสัตว์และแนวทางที่รับรองว่าจะไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ว่าจะถูกหรือผิดกฎหมายก็ตาม ทั้งนี้นโยบายด้านการตัดไม้ทำลายป่าที่บริษัทใช้อยู่ในขณะนี้เอื้อให้เกิดการทำลายป่าอย่างผิดกฎหมายในแถบแอมะซอนไปจนถึงปีพ.ศ. 2568 และการทำลายป่าอย่างถูกกฎหมายทั่วโลกไปอีกสิบปี นี่ยังไม่รวมถึงความเชื่อมโยงกับอีกหลายๆสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยครั้งแล้วครั้งเล่า (multiple instances of habitat destruction) เพื่อการจัดหาถั่วเหลืองและข้าวโพดสำหรับเป็นอาหารสัตว์จากบราซิล

แจกเกอลีน มิลส์ (Jacqueline Mills) หัวหน้าแคมเปญสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า

“ตัวชี้วัดของเราเผยให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ห้าแห่ง ซึ่งเป็นตัวการที่ผลักดันให้เกิดการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติเพื่อปลูกอาหารสัตว์และสร้างความโหดร้ายทารุณแก่สัตว์นั้น ปล่อยมลพิษเทียบเท่ากับปริมาณมลพิษที่ปล่อยจากรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนนถึง 36.4 ล้านคันต่อปี

บริษัทเจบีเอสเป็นผู้สร้างมลพิษที่เลวร้ายที่สุดจากทุกราย และรายงานของเราแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทำฟาร์มอุตสาหกรรมไม่ใช่อนาคตสำหรับสภาพภูมิอากาศที่ปลอดภัย”

ตัวชี้วัดนี้ได้ส่งผลต่อบริษัทที่เป็นตัวการทั้งห้ารายที่ทำลายสภาพภูมิอากาศจากการทำฟาร์มอุตสาหกรรม โดยพบว่าบางแห่งกำลังส่งเป้าหมายการดำเนินงาน ให้กับ Science-Based Targets Initiative (SBTi) ซึ่งสนับสนุนโดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งจะเป็นการตรวจประเมินแนวทางที่บริษัทต่างๆเสนอไว้เพื่อให้บรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

1020428

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมีความกังวลว่า บริษัทเจบีเอสจะแสวงหาประโยชน์จากช่องโหว่ของแนวทาง SBTi และนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินการต่างๆที่บริษัทและผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่อื่นๆจะนำส่งในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

เนื่องจากการผลิตอาหารสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาล ดังนั้น SBTi จึงอนุญาตให้บริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์บันทึกระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงสำหรับการผลิตเนื้อสัตว์ทุกๆหนึ่งกิโลกรัมโดยการเลี่ยงไปใช้การคำนวณจากสูตรในการประกอบอาหารสัตว์ที่จำเป็นเพื่อเลี้ยงสัตว์ให้มีน้ำหนักตามที่ต้องการ

อย่างไรก็ตาม ผลดีกับสภาพภูมิอากาศก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะผลกระทบที่เพิ่มขึ้นต่อสภาพภูมิอากาศโดยรวมทั้งหมดอันเนื่องมาจากการผลิตเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้น

มิลส์กล่าวต่ออีกว่า

SBTi จำเป็นที่จะต้องยุติการฟอกเขียวในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และควรจะปฏิเสธเป้าหมายของบริษัทเจบีเอสทั้งหมดรวมถึงกำจัดช่องว่างที่เอื้อให้เกิดการเลี่ยงอย่างเห็นได้ชัดดังกล่าว ซึ่งทำให้ดูเหมือนมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมเพิ่มขึ้นและใช้อ้างสิทธิเพื่อให้ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

Spraying pesticides in a soybean field in Brazil

ผู้บริโภคในปัจจุบันนี้ได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเพื่อเรียกร้องให้บริษัทที่ติดอันดับตัวชี้วัดความอัปยศสูงสุดห้าแห่ง จัดการกับปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรวมถึงจากการผลิตอาหารสัตว์ด้วย

บริษัทต่างๆจะต้อง

  • มีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังเพื่อหยุดการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและยุติการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศเนื่องจากการปรับที่ดินเพื่อใช้เพาะปลูกอาหารสัตว์ฟาร์ม
  • จัดทำและเปิดเผยแผนการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึงเผยแพร่รายงานต่อสาธารณะ
  • ยุติการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมทีมาจากฟาร์มอุตสาหกรรม และหันมาผลิตอาหารที่ใช้พืชเป็นหลักและทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์จะมาจากสัตว์ที่มีสวัสดิภาพสูงเพื่อจัดการกับวิกฤตต่างๆ ทั้งด้านสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหาร
  • ยุติความโหดร้ายทารุณจากฟาร์มอุตสาหกรรมที่ยังเหลืออยู่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำด้านสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์ม (FARMS)  
Pollos en una granja industrial

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกยังได้เรียกร้องให้ SBTi ให้การรับรองแผนดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับบริษัทที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแผนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังเท่านั้น

ตัวชี้วัดถูกจัดทำขึ้นจากข้อมูลในรายงาน “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความโหดร้ายทารุณ” หรือ Climate change and crueltyขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งได้เก็บข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการผลิตเนื้อหมูและเนื้อไก่ในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในโลกสี่แห่งในบราซิล จีน สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ (ตัวแทนของยุโรป)

1020720

ฟาร์มอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ว่าจะมีการให้อาหารแบบสายพานโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เป็นตัวการในการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญรวมถึงการทำให้สัตว์ป่าพลัดถิ่น ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดที่สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่สัตว์บนโลกนี้

สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิดถูกลิดรอนสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและต้องทุกข์ทรมานตลอดชั่วชีวิต โดยที่สัตว์ส่วนมากไม่เคยเห็นแสงอาทิตย์ ไม่เคยเดินได้อย่างอิสระในทุ่ง หรือแม้กระทั่งไม่เคยมีชีวิตที่ปราศจากความเจ็บปวดเลย ซึ่งเป็นความทารุณโหดร้ายอย่างมากและความทุกข์ทรมานเหล่านี้จะต้องจบลง