รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศเข้าร่วมโครงการ Global ghost gear initiative เพื่อต่อต้านการทิ้งขยะในทะเล

รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศร่วมโครงการ Global ghost gear initiative ต่อต้านการทิ้งขยะในทะเล

ข่าว

รัฐบาลสหราชอาณาจักรทราบถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการกำจัดซากอวนกว่า 640,000 ตัน ที่ถูกทิ้งในทะเลทุกปี

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรจะสนับสนุนโครงการ Global Ghost Gear Initiative (GGGI) เพื่อแก้ไขปัญหาขยะในทะเลจากการทิ้งซากอวน โดยมีการประกาศความร่วมมือในการประชุม Ocean Conference ประเทศมอลตา



การประกาศในครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญต่อพันธมิตรต่างๆ และจะช่วยสร้างการรับรู้ถึงข้อมูลรายงานนี้อย่างกว้างขวาง

sea_change_uk_2015_high_res_world_animal_protection_greg_martin_1015652_0


ซากอวนบนหาด Perranporth ในคอร์นวอลล์

ซากอวนที่ถูกทิ้งไว้ในทะเลต้องใช้เวลาถึง 600 ปีในการย่อยสลาย และเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและความสมดุลในระบบนิเวศทางทะเล



ทุกปีวาฬ แมวน้ำ เต่าทะเล และนกนับแสนตัว บาดเจ็บ หรือตายจากการติดอยู่กับซากอวนเหล่านี้ รายงานนี้แสดงให้เห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตทางทะเลกว่า 817 สายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบจากขยะในทะเลเหล่านี้



ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีปริมาณซากอวนถูกทิ้งในทะเลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมการประมงซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลในวงกว้าง และทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียเงินหลายล้านดอลลาร์ในการจัดการกับขยะเหล่านี้



Stephen Silbald ผู้อำนวยการโครงการ ประจำสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “เราได้พบวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศแล้ว แต่ในระดับโลกนั้นเรายังคงต้องคอยจับตาดูและหาทางแก้ปัญหาซากอวนเหล่านี้ คณะรัฐบาลและอุตสาหกรรมการประมงเป็นส่วนหนึ่งของทางออกของปัญหานี้ ซึ่งเรามีความยินดีที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุน GGGI อย่างเป็นรูปธรรม”



“โครงการ GGGI มีพันธมิตรที่เข้าร่วมกว่า 80 ราย โดยนำนวัตกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อขจัดซากอวนออกจากท้องทะเล และนำซากเหล่านี้ไปแปรรูปเป็นสเก็ตบอร์ดหรือชุดว่ายน้ำ พันธมิตรของเรามีทั้งผู้แทนจากอุตสาหกรรมการประมง ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รัฐบาล องค์กรระหว่างรัฐบาล และองค์กรเอกชนต่างๆ ผู้เข้าร่วมแต่ละรายนั้นมีบทบาทที่สำคัญในการกำจัดซากอวนในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกหวังว่าการประกาศความร่วมมือในครั้งนี้จะกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมและผู้แทนรัฐบาลอื่นๆหันมาเข้าร่วมกับเราเพื่อลดปัญหาขยะจากซากอวนซึ่งจะทำให้ทะเลสะอาดขึ้นและปลอดภัยขึ้นสำหรับทุกชีวิต”

 

ในปี 2015 องค์การสหประชาชาติได้ตั้งเป้าหมายระดับโลกไว้ 17 ข้อ ที่เรียกกันว่า เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals (SDGs)) ซึ่งในเป้าหมายข้อที่ 14 ได้มุ่งเน้นไปยังมหาสมุทรและเรียกร้องให้มีการลดมลภาวะทางทะเลทุกชนิดซึ่งรวมถึงซากอวนที่จะต้องหมดไปภายในปี 2025

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้พัฒนาโครงการ GGGI เพื่อรับมือกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการลดขยะในทะเล และตอบสนองต่อพันธกิจขององค์การสหประชาชาติ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GGGI ได้ที่

www.ghostgear.org.

ทุกปีวาฬ แมวน้ำ เต่าทะเล และนกนับแสนตัว บาดเจ็บ หรือตายจากการติดอยู่กับซากอวนเหล่านี้