Moonbears like this cub, pictured at the Endangered Species Preservation Centre in South Korea, are commonly used in Asia for their bile.

ภารกิจยุติการเพาะพันธุ์หมีผิดกฎหมายในเกาหลีใต้

ข่าว

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก และองค์กร Together with Green Korea United (GKU) ร่วมกันเสนอให้รัฐบาลเกาหลีใต้ปรับปรุงกฎหมายปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่าและการจัดการ (Wildlife Protection and Management Act) พร้อมเพิ่มบทลงโทษกรณีกระทำผิดซ้ำในคดีที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า รวมถึงการเพาะพันธุ์หมีผิดกฎหมายเพื่อทำฟาร์มดีหมี

เกษตรกรผู้เลี้ยงหมีเพื่อผลิตดีหมีอย่างผิดกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้ถูกจับกุมเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ภายใต้กฎหมายปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่าและการจัดการ ซึ่งเนื้อหาของกฎหมายฉบับดังกล่าวยังคงขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรเพาะพันธุ์หมีอย่างผิดกฎหมาย 37 ตัว จากบรรดาหมีทั้งหมด มีหมี 11 ตัวต้องตายจากสภาพความเป็นอยู่ย่ำแย่ของฟาร์ม การไต่สวนนัดแรกมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยเกษตรกรยังคงถูกคุมขังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาคดี

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก และองค์กร Together with Green Korea United (GKU) ร่วมกันเสนอให้รัฐบาลเกาหลีใต้ปรับปรุงกฎหมายปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่าและการจัดการ (Wildlife Protection and Management Act) พร้อมเพิ่มบทลงโทษกรณีการกระทำผิดซ้ำในคดีที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า รวมถึงการเพาะพันธุ์หมีผิดกฎหมายเพื่อทำฟาร์มดีหมี โดยสภาสมัชชาแห่งชาติของเกาหลีใต้ลงมติผ่านร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเมื่อเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา และคาดว่าฉบับปรับปรุงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวในประเทศเกาหลีใต้

Maya Pastakia ผู้จัดการโครงการ สัตว์ป่า ไม่ใช่ยาแผนโบราณ จากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า:

เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐตัดสินใจปรับปรุงกฎหมาย เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ในการจับกุมและลงโทษผู้เพาะพันธุ์หมีอย่างผิดกฎหมายโดยทันที

การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดจะส่งสัญญาณเตือนให้เกษตรกรรับรู้ว่า การเลี้ยงหมีผิดกฎหมายมาพร้อมบทลงโทษ และไม่ได้ทำกำไรให้กับผู้เลี้ยง อีกทั้งความโหดร้ายจากวิธีการได้มาซึ่งดีหมียังเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้"

การทำงานระหว่างองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก องค์กร GKU และรัฐบาลเกาหลีใต้เกือบ 20 ปีที่ผ่านมาเพื่อยุติอุตสาหกรรมการค้าดีหมี ได้นำไปสู่โครงการทำหมันหมี โดยในระหว่างปี พ.ศ.2557 – 2560 เจ้าหน้าที่สามารถทำหมันหมีไปได้ทั้งหมด 967 ตัว ความพยายามดังกล่าวนำไปสู่จุดจบของอุตสาหกรรมรีดดีหมี เนื่องจากไม่มีลูกหมีถูกจับขังเพื่อรีดเอาน้ำดีอีกต่อไป"

Eunjeong Park, GKU’s Green Life Team leader กล่าวว่า:

“องค์กร GKU ขอเรียกร้องให้ศาลประกาศบังคับใช้ร่างกฎหมายปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่าและการจัดการฉบับแก้ไข ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาสมัชชาแห่งชาติของเกาหลีใต้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อลงโทษผู้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าผิดกฎหมาย

นอกจากนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลเกาหลีใต้ควรจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อยุติความโหดร้ายอันเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมดีหมี

asiatic_black_bear_in_south_korea

หมีควายถูกจับขังในฟาร์มรีดดีหมีในประเทศเกาหลีใต้

องค์กร GKU และองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกขอเรียกร้องให้รัฐบาลเกาหลีใต้เฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของหมีทุกตัวในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้มีหมีตัวใหม่ตกเป็นเหยื่อของอุตสาหกรรมดีหมีอันแสนโหดร้ายนี้อีก ในขณะเดียวกัน รัฐบาลควรเร่งเดินหน้าสร้างศูนย์พักพิงตามมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์แก่หมีที่เกิดในฟาร์มเพาะพันธุ์ผิดกฎหมาย พร้อมจัดทำแผนกำจัดฟาร์มรีดดีหมีให้หมดสิ้นไปจากประเทศ

4 องค์กรที่ทำงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ ได้แก่ Green Korea United, Korean Animal Welfare Association (KAWA), Korean Animal Rights Advocates (KARA) and Project Moon Bear ยังรวมตัวกันทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่า หมีที่เกิดในฟาร์มเพาะพันธุ์ผิดกฎหมายได้รับการดูแลเป็นอย่างดี โดยในปัจจุบัน หมีที่ได้รับการช่วยเหลืออยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานท้องถิ่นและสำนักงานสิ่งแวดล้อมในพื้นที่บริเวณแม่น้ำฮัน (Han River Regional Environmental Office) ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เนื่องจากหมีที่ได้รับความช่วยเหลือเคยหนีจากการถูกทำร้ายโดยชาวบ้านอยู่บ่อยครั้ง

ร่วมปกป้องสัตว์กับเรา

ร่วมลงชื่อรับข่าวสารจากเราเพื่อขับเคลื่อนภารกิจปกป้องคุ้มครองสัตว์

“ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลเกาหลีใต้ควรจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อยุติความโหดร้ายอันเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมดีหมี