World Animal Protection

องค์กรปกป้องสัตว์ระดับสากลเปิดโปงความทุกข์ เบื้องหลังกระแสนิยมถ่ายรูปกับเสือ

ข่าว

จากกรณีอื้อฉาวของวัดเสือจนต้องถูกสั่งปิดตัวลงนั้น องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) ได้เปิดเผยตัวเลขที่แท้จริงของเสือที่ถูกทำทารุณกรรมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชมเสือในประเทศไทยเนื่องในวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคมน

จากรายงาน "ตีแผ่เรื่องจริงของการถ่ายรูปกับเสือ: ภาพพจน์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่ใช้เสือเพื่อความบันเทิง" นับเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ใช้เสือเพื่อความบันเทิงในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จะเห็นได้ว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วภายใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีการครอบครองเสือมากถึง 1 ใน 3 (33%) จากจำนวนเสือทั้งหมดในประเทศ ทั้งนี้ในปี 2015 และต้นปี 2016 ที่ทำการสำรวจพบว่ามีเสือที่ถูกขังอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อความบันเทิงทั้งสิ้นถึง 830 ตัว เมื่อเทียบกับปี 2010 ซึ่งมีเพียง 623 ตัวเท่านั้น

              สถานที่ท่องเที่ยวชมเสือเพื่อความบันเทิงนี้ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการนำเสนอประสบการณ์ “ครั้งหนึ่งในชีวิต” ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าใกล้ หรือสัมผัสเสือที่ถูกจับมาจากป่าได้ นอกเหนือจากความกังวลเกี่ยวกับจำนวนของเสือที่ถูกเพาะพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในรายงานนี้ยังพบหลักฐานการทำทารุณกรรมเสือเพื่อทำให้พวกมันเชื่องพอที่จะให้ความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยวได้

              ปัจจัยด้านปัญหาสวัสดิภาพของเสือที่เกิดขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยว 17 แห่ง ที่ทำการสำรวจคือ ลูกเสือถูกพรากจากอกแม่เมื่อมีอายุเพียง 2-3 สัปดาห์ เมื่อลูกเสือถูกนำมาให้นักท่องเที่ยวนับร้อยๆ คนต่อวันได้ชื่นชมและสัมผัสนั้น ลูกเสือมีโอกาสบาดเจ็บหรือเกิดความเครียดได้ ทั้งนี้วิธีการลดความก้าวร้าว หรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการของเสือได้คือการทำโทษพวกมันให้บาดเจ็บและทำให้หวาดกลัว โดยเจ้าหน้าที่ในสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งได้เล่าว่าพวกเขาจะปล่อยให้เสือหิวโซเพื่อลงโทษเมื่อเสือทำ “ความผิด” และเสือส่วนใหญ่จะถูกกักขังอยู่ในกรงคอนกรีต หรือพื้นที่ปิดไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ โดยมีเสือถึง 50% ถูกขังอยู่ในกรงขนาดเล็กกว่า 20 ตารางเมตร ต่อ 1 ตัว ซึ่งเทียบไม่ได้กับการอาศัยอยู่ในป่าที่พวกมันสามารถเดินทางได้ไกลถึง 163 – 32 กิโลเมตรใน 1 คืน จากผลการวิจัยยังพบว่า 1 ใน 10 (12%) ของเสือนั้นเริ่มมีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น เดินงุ่นง่าน หรือไล่กัดหางตัวเอง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดกับสัตว์ที่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดได้

esuuelaamoch

               คุณสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้จัดการโครงการ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า "เป็นที่น่ากังวลว่าในช่วงเวลาที่เราทำการสำรวจนี้ มีเสือที่ถูกละเมิดสิทธิ์เพื่อใช้ให้ความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 5 ปีที่แล้วถึง 207 ตัว เราขอให้นักท่องเที่ยวคำนึงถึงสวัสดิภาพของเสือเป็นสำคัญ กรุณาอย่าไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่มีการจัดพื้นที่ให้คุณสามารถเข้าใกล้ กอด ขี่ หรือถ่ายรูปกับพวกมันได้ และขอร้องให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุติการประชาสัมพันธ์หรือแสวงหาผลกำไรจากการทรมานเสือ”

“องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกขอเรียกร้องให้รัฐบาลจากทั่วโลกเข้าตรวจสอบสถานที่ท่องเที่ยวที่ใช้เสือเพื่อความบันเทิง และสั่งปิดสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการค้าผิดกฎหมาย การทำทารุณกรรม หรือการเลี้ยงดูอย่างละเลย บริษัทท่องเที่ยวยุติการขาย หรือประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวที่ใช้สัตว์ป่าเพื่อความบันเทิงที่ทำทารุณกรรมสัตว์ และนักท่องเที่ยวไม่ควรไปเที่ยวในสถานที่ดังกล่าวที่มีการเสนอกิจกรรมโดยตรงกับสัตว์ เช่นการกอดหรือถ่ายรูป”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับวีดีทัศน์ และภาพเกี่ยวกับการดูแลสวัสดิภาพเสือในสถานที่ท่องเที่ยวได้ที่ Kai Akram อีเมล kaiakram@worldanimalprotection.org โทร +44 (0) 7939 029 006

Every animal deserves a life worth living.