A screenshot from one of YouTube's fake animal rescue videos, showing a staged rescue between a gibbon and a python

ยอดวิวทำร้ายสัตว์: รายงานล่าสุดพบ VDO ปลอมช่วยเหลือสัตว์ว่อน YouTube

ข่าว

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกตรวจพบวิดีโอปลอมช่วยเหลือสัตว์บนช่องทาง YouTube เพิ่มมากขึ้น

สัตว์หลายชนิด เช่น ลิง สุนัข และสัตว์เลื้อยคลานประเภทต่าง ๆ ปรากฏอยู่ในวิดีโอจำนวนมาก ซึ่งพวกมันถูกจัดฉากให้เป็น ‘เหยื่อ’ ถูกรุมทำร้ายโดย ‘สัตว์นักล่า’ อย่างงู หรือจระเข้

จากการตรวจสอบคลิปวิดีโอเบื้องต้น องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกพบการทารุณกรรมสัตว์หลายรูปแบบ อาทิ ลิงที่มีอาการหวาดผวาถูกจับขังร่วมอยู่กับงูเหลือม และพยายามหาทางหนี คุณจะได้ยินเสียงร้องโหยหวนด้วยความหวาดกลัวของสัตว์ ถึงแม้ว่าสัตว์ที่เป็น ‘เหยื่อ’ ในวิดีโอจะได้รับการช่วยเหลือในท้ายที่สุด แต่สัตว์เหล่านั้นต่างเกิดอาการเครียดเฉียบพลัน และมีอาการบอบช้ำทางจิตใจ พวกมันไม่ควรตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ตั้งแต่แรก กระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์นี้ถูกจัดฉากขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกพบวิดีโอทารุณกรรมสัตว์ในลักษณะแบบนี้มากกว่า 180 ชิ้นบน YouTube ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2561 – พฤษภาคม 2564 มีวิดีโอประมาณ 70 ตัวถูกเผยแพร่ในปี พ.ศ.2021 ชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการทารุณกรรมเพื่อความบันเทิงนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยวิดีโอที่มียอดผู้เข้าชมสูงสุด 50 ตัวรวมแล้วมีผู้ชมรวมสูงถึง 133.5 ล้านวิว

คำเตือน: The following video contains graphic footage and may be disturbing for some viewers. Viewers’ discretion is advised.

สัญญาของ YouTube ต่อสาธารณชน

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2564 YouTube ได้ประกาศยืนยันว่า จะแก้ไขปัญหากาทารุณกรรม แต่นับตั้งแต่การประกาศวันนั้น เรากลับพบจำนวนวิดีโอช่วยเหลือสัตว์ปลอมถูกอัพโหลดและเผยแพร่ผ่านช่องทาง YouTube เป็นจำนวนมาก ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2564 – 1 มิถุนายน พ.ศ.2564 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกพบวิดีโออีก 47 ตัวถูกอัพโหลดขึ้นโลกออนไลน์ผ่านช่องทางทั้งหมด 15 ช่อง ในช่วงเวลาที่เราค้นพบวิดีโอทั้งหมด มีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 7 ล้านวิว และมีจำนวนผู้ติดตามอีก 2.7 ล้านคน

วิกฤตสวัสดิภาพสัตว์

พบสัตว์จำนวนมากตกเป็นเหยื่อในวิดีโอปลอมช่วยเหลือสัตว์ แม้แต่สัตว์เลี้ยงอย่างไก่ เป็ด สุนัข แมว หรือแม้แต่สัตว์ป่านักล่าต่างถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความบันเทิงและรายได้ของเจ้าของวิดีโอ

วิดีโอปลอมที่ถูกผลิตขึ้นทำให้สัตว์และเจ้าของวิดีโอเองต่างตกอยู่ในความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังทำให้สัตว์ต้องตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จากการตรวจสอบวิดีโอทั้งหมด เราพบคลิปชะนีมือขาวหาทางออกสุดชีวิตจากงูเหลือม หรือแม่แมวพยายามปกป้องลูก ๆ ของมันจากงูหลาม

เรายังพบว่า สัตว์นักล่าถูกจัดฉากให้ถูกกัด ขวน จิก หรือได้รับบาดเจ็บด้วยอาการอื่น ๆ จากสัตว์ผู้เป็นเหยื่อ ก่อนจะถูกแหย่ด้วยไม้ จับออกจากจุดถ่ายทำ และได้รับบาดเจ็บจาก “การช่วยเหลือ”​ ของเจ้าของวิดีโอ

น่าเศร้าที่วิดีโอเหล่านี้ได้รับการถ่ายทำซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ได้​ “ฉากที่ดีที่สุด” เพื่อเพิ่มยอดผู้เข้าชม และยอดแชร์

ไม่ว่าสัตว์นักล่า หรือเหยื่อ พวกมันทุกตัวไม่ควรถูกนำมาใช้ประกอบฉาก เป็นของเล่น หรือผู้ให้ความบันเทิงในวิดีโอน่าสะพรึงกลัวแบบนี้

เราต้องการการเปลี่ยนแปลง

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกขอเรียกร้องให้ YouTube ลงมือแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามที่ได้ให้สัญญาไว้ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2564 และเร่งดำเนินการเพื่อตรวจสอบและลบวิดีโอทารุณสัตว์ ยิ่งวิดีโอทารุณกรรมสัตว์อยู่บน YouTube นานเท่าไหร่ ยอดผู้เข้าชมยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และอาจกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ

YouTube ควรออกมาแสดงความรับผิดชอบ และชี้แจ้งแผนการป้องกันวิดีโอที่มีเนื้อหาทารุณกรรมสัตว์ต่อสาธารณะ

ช่วยกันยุติการทารุณกรรมสัตว์

วิธีตรวจสอบวิดีโอปลอม :

  1. สังเกตสัญญาณ หรือความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ เช่น รอยบาด บาดแผล ปีกถูกขลิบ หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้สงสัยได้ว่า สัตว์กำลังมีอาการเครียด หรือหวาดกลัว เช่น หายใจรุนแรง หรือขดตัว ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์นักล่าและเหยื่อก่อนถูก “โจมตี”
  2. ตรวจสอบว่า สัตว์นักล่าและเหยื่อถูกจัดฉากอยู่หรือไม่ เช่น พวกมันอาจอยู่ในสถานที่ที่ไม่ควรอยู่ เช่น สัตว์ป่าในพุ่มไม้เปิด
  3. สังเกตว่าสัตว์นักล่า หรือเหยื่อแสดงพฤติกรรมผิดธรรมชาติ ระหว่างการโจมตีหรือไม่ เช่น งูขดตัวหลวมใกล้เหยื่อ หรือสัตว์นักล่าแสดงอาการหวาดกลัว และไม่มีท่าทางหลบหนี เมื่อมนุษย์เข้ามาใกล้พวกมัน
  4. ตรวจสอบวิดีโออื่น ๆ ที่ถูกอัพโหลดในช่องทางเดียวกัน และสังเกตว่า สัตว์ในวิดีโอแต่ละตัวเป็นตัวเดียวกัน หรือสถานที่ถ่ายทำเป็นสถานที่ซ้ำกันหรือไม่ คุณอาจใช้วิธีจดจำเครื่องหมาย หรือลวดลายบนตัวสัตว์ หรือแม้แต่รูบนพื้น
  5. สังเกตวิธีการเข้าช่วยเหลือสัตว์ของคนในวิดีโอว่าเหมาะสมหรือไม่ หลังสัตว์นักล่าและเหยื่อถูกจับแยกกัน เช่น สัตว์อาจถูกจับด้วยมืออย่างแน่นหนา แต่ถูกจับหันหน้าเข้าหากันอีกครั้งอย่างใกล้ชิด หรือจับพวกมันไว้พร้อมกันแทนที่จะจับพวกมันแยก และปล่อยพวกมันไปคนละทิศละทาง

ในปี พ.ศ.2558 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกรณรงค์​ยุติกิจกรรมการทารุณกรรมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายใต้โครงการสัตว์ป่าไม่ใช่นักแสดง (Wildlife. Not Entertainers.) เช่น การขี่ช้าง หรือการแสดงโชว์ช้าง เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้าใจว่า สัตว์ป่าเหล่านี้ควรอาศัยอยู่ในป่า หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

[1] YouTube’s guidelines explicitly list the following as prohibited: ‘Content where there's infliction of unnecessary suffering or harm deliberately causing an animal distress’ and ‘Content where animals are encouraged or coerced to fight by humans’ - https://support.google.com/youtube/answer/2802008?hl=en&ref_topic=9282436

พบสัตว์จำนวนมากตกเป็นเหยื่อในวิดีโอปลอมช่วยเหลือสัตว์ แม้แต่สัตว์เลี้ยงอย่างไก่ เป็ด สุนัข แมว หรือแม้แต่สัตว์ป่านักล่าต่างถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความบันเทิงและรายได้ของเจ้าของวิดีโอ