วิกฤติเชื้อดื้อยาที่ยังทวีความรุนแรงมากขึ้น

สวัสดิภาพสัตว์แย่ทำให้ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น

Farm

สวัสดิภาพสัตว์ที่ย่ำแย่ในฟาร์มอุตสาหกรรม นำมาสู่การใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินความจำเป็น เพื่อช่วยป้องกัน ไม่ให้สัตว์ที่มีความเครียดเหล่านั้นต้องเจ็บป่วย และนี่เป็นต้นตอของวิกฤตเชื้อดื้อยาจากฟาร์มสัตว์สู่คน   

ทุกๆ 15 นาที มีคนไทยเสียชีวิตเพราะเชื้อดื้อยา 

RIP

คนไทยยังคงเสียชีวิตเพราะเชื้อดื้อยาปีละกว่า 38,000 คน และอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากเชื้อดื้อยาสูงกว่าสหรัฐฯ-ยุโรป ถึง 6 เท่า 

ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

Sick

มีการคาดว่่าคนไทยมีการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 88,000 ครั้ง ทำให้ต้องอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น 3.24 ล้านวันต่อปี มูลค่ายาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาคิดเป็น 2,539-6,084 ล้านบาท สูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยรวมไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) 

พบการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยาที่เป็นอันตรายใกล้ตัว

AMR

พบการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยาและยีนดื้อยาหลายขนานที่น่าวิตกจากฟาร์มอุตสาหกรรมในประเทศไทย ทั้งในเนื้อสัตว์ และแหล่งน้ำสาธารณะ จากการสำรวจขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเมื่อปี พ.ศ. 2562

หากไม่มีการควบคุมอัตราการสูญเสียจะเพิ่มสูงขึ้น

death

วิกฤตเชื้อดื้อยาคือปัญหาระดับโลกที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ และมีแนวโน้มที่จะทำให้อัตราการเสียชีวิตของคนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี หากไม่ลงมือแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาอย่างเร่งด่วน ก็เป็นไปได้ที่เราจะเข้าสู่ยุค post antibiotic era หรือยุคที่ยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถใช้รักษาโรคได้อีกต่อไป การเจ็บป่วยติดเชื้อเพียงเล็กน้อย อาจนำไปสู่การตาย การผ่าคลอดอาจทำไม่ได้เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

สวัสดิภาพสัตว์ที่ย่ำแย่ ตัวเร่งการเกิดแบคทีเรียดื้อยา

Superbugs in supermarket meat

ความโหดร้ายทารุณและสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มที่ย่ำแย่ส่งผลให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินความจำเป็น

ยาปฏิชีวนะที่ควรมีไว้เพื่อรักษาการเจ็บป่วย กลับถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันโรคในสัตว์ฟาร์มจากสภาพแวดล้อมที่่่มีแต่ความเครียดและโหดร้ายทารุณ รวมถึงเพื่อเร่งให้สัตว์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างผลกำไร 

เราอยากให้คุณลองหลับตาแล้วคิดถึงสภาพของสัตว์ที่อยู่ในระบบฟาร์มอุตสาหกรรม แม่หมูที่อยู่ในคอกขังขนาดพอดีตัวทั้งชีวิต มีหน้าที่เหมือนเครื่องจักรผลิตลูกหมู ลูกหมูที่เกิดมาใหม่ต้องถูกตัดตอนอวัยวะ ทั้งการตัดหาง การตัดฟัน รวมถึงการตอนสด โดยไม่มีการบรรเทาความเจ็บปวดใดๆ หากคุณคิดว่าเป็นหมูลำบาก คุณลองคิดถึงไก่ที่ต้องอยู่กันอย่างแออัดในโรงเรือนแบบปิด แสงเดียวที่ไก่จะเห็นคือแสงจากหลอดไฟ ที่เปิดปิดให้ไก่กินและนอนตามเวลา และไม่มีที่ให้คุณได้จิกคุ้ยเขี่ยหาหนอน เกาะคอนหรือขุดหลุมเพื่อคลุกฝุ่นตามพฤติกรรมธรรมชาติได้

คุณคงพอเห็นภาพแล้วว่าไม่มีทางที่สัตว์ต่างๆ ที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งส่งผลให้สัตว์เหล่านี้เจ็บป่วยได้ง่ายมาก  

ฟาร์มอุตสาหกรรมจึงใช้ยาปฎิชีวนะผสมลงในน้ำและอาหารให้สัตว์เหล่านี้กินเป็นประจำ เพื่อที่จะให้พวกมันสามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ รวมทั้งเร่งให้สัตว์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างผลกำไร ก่อนจะส่งไปยังโรงเชือดเพื่อเป็นอาหาร นี่เป็นการใช้ยาเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่ม นั่นหมายถึงแม้สัตว์ตัวไหนจะไม่ป่วยก็ต้องกินยาปฏิชีวนะเหล่านี้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง 

การใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็นเช่นนี้เอง ที่ทำให้เกิดแบคทีเรียดื้อยาหรือซุปเปอร์บั๊กส์ (Superbugs) ขึ้นในฟาร์ม เชื้อดื้อยาเหล่านี้มีการแพร่กระจายสู่ภายนอก ปนเปื้อนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่คุณซื้อ ปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ แพร่กระจายในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียง และแหล่งน้ำเหล่านี้ยังคงมีการไหลต่อเนื่องไปสู่แหล่งอื่นๆ จนยากต่อการหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนได้ ในปัจจุบันปัญหาเชืัอดื้อยานี้ ได้กลายเป็นวิกฤตระดับโลกที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า “การดื้อยา” เป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพของโลกในระยะอันใกล้ 

ผลกระทบจากสัตว์สู่คนที่ยังควบคุมไม่ได้

global impact

มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากกว่า HIV/AIDS

The Lancet วารสารทางการแพทย์ที่เก่าแก่และได้รับความเชื่อถือมากที่สุด มีการประเมินว่าในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยากว่า 4.95 ล้านคน ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจาก HIV/AIDS และมาลาเรีย รวมกัน

survey

พบเชื้อดื้อยาหลายขนานรอบฟาร์มอุตสาหกรรม

จากการสำรวจแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม รอบฟาร์มอุตสาหกรรมหมูในประเทศไทย มีการพบเชื้อดื้อยาหลายขนาน ได้แก่  third-generation cephalosporins, fluoroquinolones, colistin, co-trimoxazole, gentamicin, amikacin, trimethoprim-sulfamethoxazole, or amoxicillin
pork

ปี พ.ศ. 2561 ตรวจพบเชื้อดื้อยาในเนื้อหมูในประเทศไทย

ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2561 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้จัดทำรายงานชื่อ Pork and the Superbugs Crisis โดยทำการตรวจสอบเนื้อหมู จำนวน 150 ตัวอย่างจากซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย พบการปนเปื้อนเชื้อ E. coli จากตัวอย่าง 97% และเชื้อ Salmonella จากตัวอย่าง 50% และผลจาก 97% ของ E. coli และ 93% ของ Salmonella พบยีนแบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน รวมถึงดื้อต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Cephalosporin, Ampicilin, Cefotaxium และCefpodoxium 

Superbug

ปีพ.ศ. 2562 พบยีนดื้อยากระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อม

พบยีนดื้อยากระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อมจากรายงานชื่อ Silent superbugs killer in a river near you ในปีพ.ศ. 2562 ขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ซึ่งยีนดื้อยาเหล่านี้ มีผลต่อการดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่องค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุดต่อมนุษย์ ยาปฏิชีวนะในกลุ่มนี้ มีความจำเป็นในการใช้เพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยเมื่อยาปฏิชีวนะในกลุ่มอื่นใช้ไม่ได้ผล
Antibiotic

ยาปฏิชีวนะคือตัวช่วยของการเลี้ยงสัตว์อย่างทารุณโหดร้าย

มีการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากจากระบบการเลี้ยงที่สร้างความทุกข์ทรมานแก่สัตว์เพื่อป้องกันสัตว์เจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความเครียด

 

คุณรู้หรือไม่ว่าเชื้อดื้อยามาจากฟาร์มอุตสาหกรรม

สิ่งที่น่ากังวลของปัญหาเชื้อดื้อยาก็คือ คนไม่รู้ว่าเชื้อดื้อยามาจากฟาร์มอุตสาหกรรมได้ 

เราได้ลงพื้นที่ในการพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนที่อาศัยอยู่แวดล้อมฟาร์มอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ไม่รู้จักเชื้อดื้อยามาก่อน บางส่วนอาจจะเคยได้ยินว่าเกิดจากการกินยาปฏิชีวนะที่ไม่ต่อเนื่อง หรือกินยาปฏิชีวนะมากเกินไปเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย แต่ทุกคนไม่รู้เลยว่าฟาร์มที่อยู่ใกล้บ้านตัวเองเป็นหนึ่งในการตัวการสำคัญที่ปล่อยเชื้อดื้อยาปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน 

เสียงเหล่านี้เป็นเสียงของคนที่อยู่ใกล้ปัญหามากที่สุด เสี่ยงต่ออันตรายมากที่สุด แต่กลับไม่รู้เลยว่าภัยอยู่ใกล้ตัวพวกเขามากแค่ไหน เสียงที่ส่งออกมาด้วยความกลัวและกังวลว่า ทำไมจึงเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้ และใครจะรับผิดชอบชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ เสียงเหล่านี้ยังคงดังไม่มากพอที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งดำเนินการ 

การพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์คือทางออก

A piglet in the arms of a World Animal Protection staff