ระบบอาหารที่เปราะบาง

ในแต่ละปีสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรมกว่า 7 หมื่นล้านตัวทั่วโลก ถูกนำมาเพื่อผลิตเป็นอาหารตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แต่ทั้งชีวิตของสัตว์เหล่านี้ต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่และมีคุณภาพชีวิตที่เลวร้าย หากพูดถึงเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์ ประเด็นเหล่านี้มักจะถูกละเลย เพราะสัตว์ฟาร์มถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคอยู่แล้ว

ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ นม หรือไข่มักมาจากระบบการเลี้ยงและการผลิตที่ไม่ได้คำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ เช่น ถูกกักขังในสภาพแวดล้อมที่แออัดคับแคบหรือแม้แต่การตัดตอนอวัยวะที่ได้สร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานต่อสัตว์เป็นอย่างมาก

ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรคที่มาจากสัตว์ หรือการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะในแหล่งน้ำจำนวนมหาศาล ซึ่งนำไปสู่การเกิดแบคทีเรียดื้อยาที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และเมื่อความต้องการของการบริโภคเนื้อสัตว์มีมากขึ้น จะยิ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อโลกของเรามากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

พฤติกรรมการบริโภคกับสุขภาพของเรา

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 ได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าโลกของเรากำลังถูกท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สังเกตุได้จากคนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจสุขภาพที่ทำให้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยมีการเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่มาจากการเลี้ยงที่ใส่ใจในสวัสดิภาพของสัตว์หรือบริโภคโปรตีนที่มาจากพืชมากขึ้น ผู้คนหันมาออกกำลังกาย หรือปรึกษานักโภชนาการเพื่อดูแลสุขภาพ ซึ่งเทรนด์การบริโภคอาหารอย่างชาญฉลาดนี้นำมาสู่โอกาสของการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ที่มีความยั่งยืน ปลอดภัยและใส่ใจในสวัสดิภาพของสัตว์

ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

Broiler chicken.
สัตว์ฟาร์มส่วนใหญ่ในประเทศไทยถูกเลี้ยงไว้เพื่อการบริโภค และเลี้ยงอยู่ในระบบการทำปศุสัตว์แบบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหมูและไก่ที่จัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศ สัตว์เหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมานจากการเลี้ยงที่ไม่ใส่ใจหลักสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การเลี้ยงแม่หมูในกรงขัง การตัดตอนอวัยวะลูกหมูที่สร้างความเจ็บปวดทรมาน การเลี้ยงไก่ในโรงเรือนปิดอย่างแออัด รวมถึงการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โตเร็วที่สร้างปัญหาทางสุขภาพและการใช้ชีวิตของไก่อย่างรุนแรง ถึงเวลาแล้วที่เราจะคิดทบทวนถึงระบบการทำฟาร์มและร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มที่ยั่งยืน
Farming and Antimicrobial Resistance
ในทุกๆปี 3 ใน 4 (75%) ของยาปฏิชีวนะที่ผลิตทั้งหมดบนโลก ถูกนำมาใช้ในฟาร์มอุตสาหกรรม ซึ่งถูกใช้มากกว่าการรักษาในคน การใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็นจะก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา หรือเรียกอีกอย่างว่า “ซุปเปอร์บั๊กส์ (Superbugs)” ที่อาจมีการปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำและสถาพแวดล้อมรอบๆฟาร์มอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจสอบ ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากแบคทีเรียดื้อยากว่า 700,000 คนต่อปี และในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 30,000 คน หรือ 1 คนในทุกๆ 15 นาที
environmental impact
ฟาร์มสัตว์ในระบบอุตสาหกรรมเป็นตัวการสำคัญในการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรวมถึงส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของพวกเรา จากรายงานขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ที่ได้ทำการสำรวจแหล่งน้ำสาธารณะและสิ่งแวดล้อมรอบฟาร์มในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยพบว่า มีการปนเปื้อนของแบคทีเรียดื้อยาจากฟาร์มอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก และบางตัวอย่างที่พบก็เป็นเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุดต่อสุขภาพมนุษย์

ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มสู่การพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืน

ผู้บริโภคเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถทำได้โดยการ:

  • การเข้าใจถึงแหล่งที่มาของอาหาร
  • การเลือกสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มาจากฟาร์มที่ใส่ใจในสวัสดิภาพสัตว์
  • การเรียกร้องไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น ภาครัฐ ผู้ผลิต ร้านค้าหรือร้านอาหารสะดวกซื้อ เพื่อให้มีนโยบายสนับสนุนและพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งหมดนี้คือ พลังสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบอาหารให้มีความยั่งยืนต่อทั้งสัตว์ คน และโลกใบนี้

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสวัสดิภาพของสัตว์ฟาร์มในประเทศไทย

เพื่อนำไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรม

ร่วมกันกับเรา
Indicates required field
2,263 signatures out of
15,000

*การร่วมกันกับเราในครั้งนี้: คุณยินดีที่จะรับข้อมูลข่าวสาร และร่วมรณรงค์ในโครงการสัตว์ฟาร์มกับเรา

นโยบายในการเก็บข้อมูลของคุณไว้เป็นความลับ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจะไม่นำรายชื่อเผยแพร่แก่ผู้อื่น และคุณสามารถทำการยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมจากองค์กรฯได้ทุกเมื่อ เพียงแค่กดลิงค์ ‘ยกเลิกการรับข่าวสาร’ (unsubscribe) ในอีเมล หรือโทรมาที่ 025130475 หรือส่งอีเมลมาที่ privacy@worldanimalprotection.or.th