การขายกิจการเทสโก้ สัญญาต่อผู้บริโภคและสัตว์ในฟาร์มต้องถูกสานต่อ

บล็อก

By

อย่างที่เราทราบกันเป็นอย่างดีว่า บริษัทเทสโก้ในประเทศอังกฤษได้ประกาศขายกิจการของเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยการขายกิจการของเทสโก้ครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่หลายรายในประเทศไทย ก่อนที่จะมีการปิดประมูลไปในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาด้วยดีลที่มีมูลค่ามหาศาล

RPR

แน่นอนว่าการขายกิจการครั้งนี้ โดยเฉพาะเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยย่อมเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากเทสโก้ โลตัสเป็นห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ นับว่ามีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทสโก้ โลตัสมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อตลาดค้าปลีกของไทย ซึ่งเกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ผู้บริโภคคนไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์ฟาร์มจำนวนนับล้านตัวด้วย

การเลี้ยงสัตว์แบบที่ไม่ใส่ใจสวัสดิภาพในฟาร์มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู เช่นการเลี้ยงแม่หมูแบบขังคอก การตัดตอนอวัยวะลูกหมู การตัดหาง การกรอฟัน หรือการตอนสดนั้น ทำให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นจำนวนมหาศาลและเกินความจำเป็น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การเกิดเชื้อซุปเปอร์บั๊กส์ (Superbugs) หรือแบคทีเรียที่มีฤทธิ์ต่อต้านยาปฏิชีวนะขึ้น โดยส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเนื้อสัตว์ ตลอดจนผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย (สามารถอ่านรายงานเชื้อดื้อยาได้ที่นี่ >>> คลิ้ก)

cut_off_piglet_tails_on_a_table_next_to_pliers

ในปีพ.ศ. 2558 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้ทำการตรวจสอบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาตกค้างในเนื้อหมูที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตใน 4 ประเทศรวมถึงประเทศไทย และเป็นที่น่าตกใจว่าเราพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่เป็นอันตรายอยู่ในตัวอย่างเนื้อหมูจากซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทยด้วย

ในฐานะที่ทำงานด้านการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จึงได้ทำงานใกล้ชิดกับผู้บริโภคเพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร ผ่านการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม โดยเราขอให้ผู้บริโภคร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกมีโนบายด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีขึ้น  

Superbugs in supermarket meat

จากการสนับสนุนของภาคประชาชนรวมถึงการผลักดันประเด็นด้านสัตว์ฟาร์มอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เทสโก้ โลตัสประกาศนโยบายจำหน่ายเนื้อหมูแบบบรรจุแพ็คที่มาจากฟาร์มที่ไม่มีการขังแม่หมูตั้งท้องในกรงและมีการเลี้ยงแบบรวมกลุ่ม (group sows housing) ภายในปีพ.ศ. 2570

นอกจากนั้นยังรวมถึงการประกาศว่าไข่ทุกใบที่วางจำหน่ายในเทสโก้ โลตัสจะมาจากแม่ที่ไม่ถูกขังกรง (cage-free) ภายในปีพ.ศ. 2571 อีกด้วย ด้วย นโยบายนี้ทำให้สัตว์จำนวนมหาศาลในฟาร์มอุตสาหกรรมจะมีชีวิตที่ดีขึ้น ผู้บริโภคก็จะได้รับความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

voice from consumer

เมื่อมีพลังที่เกิดจากเสียงของผู้บริโภคและพลังของคนทำงานในการสร้างการเปลี่ยนแปลงแล้ว  คำถามที่สำคัญถัดมาคือ เมื่อเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนเจ้าของใหม่ นโยบายด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับผู้บริโภคจะถูกสานต่อหรือไม่

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเชื่อว่าการส่งมอบสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภค สวัสดิภาพสัตว์ ตลอดจนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องถูกยึดถือในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นเราจะทำหน้าที่ในการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าคำมั่นสัญญาที่เกิดจากพลังผู้บริโภคทุกคนจะได้รับการสานต่อและเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้ในที่สุด

RPR Thailand