elephant

อ๊ะๆ นั่นช้างไม่ได้เต้นนะจ๊ะ!

บล็อก

By

คุณหมอนิ้งจะมาแชร์พฤติกรรมการแสดงออกของช้างที่คุณอาจไม่เคยรู้

บ่อยครั้งที่ผู้คนรู้สึกชื่นชมความแสนรู้ของช้างที่ถูกนำมาฝึกเพื่อใช้ในการแสดงโชว์ โดยไม่รู้เลยว่ากว่าที่ช้างจะมาแสดงความสามารถที่ขัดต่อพฤติกรรมตามธรรมชาติให้คนดูได้ พวกมันต้องผ่านกระบวนการฝึกมากมายที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ

บ่อยครั้งที่ผู้คนชื่นชม หัวเราะ ชอบใจ เมื่อเห็นช้างโยกย้ายส่ายตัวไปมาซ้ำๆ เพราะคิดว่าช้างกำลังเต้น

แต่จริงๆ แล้วนั่นคือพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ผิดปกติ (Abnormal Repetitive Behaviors) เป็นคำที่ครอบคลุมการแสดงพฤติกรรมแปลกๆ ของสัตว์ หรืออาจเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำ ที่เราเรียกกันว่า “Stereotypic Behaviour” อาการดังกล่าวเป็นอาการทำซ้ำที่บ่อยกว่าปกติ เป็นการทำซ้ำๆ วนไปวนมา ที่มีแบบแผนเดียวไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการแสดงออกด้วยการกระทำกับตัวเอง (Self-directed behaviors) โดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีจุดประสงค์ และควบคุมตัวเองไม่ได้

สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความเครียด ความวิตกกังวลที่เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมที่ช้างอาศัยอยู่ หรือการขาดสมดุลของระดับโดพามีน (Dopamine) และเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งต่างเป็นสารที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของช้าง

พฤติกรรมซ้ำๆ ที่ผิดปกติในสัตว์มีอาการที่มักพบ ดังนี้:

  • แสดงพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น โยกตัว ส่ายหัว ส่ายตัว ในทิศทางเดิมซ้ำๆ
  • ย้ำคิดย้ำทำ
  • กัด ดึงขน หรือเลียขนตัวเองจนทำให้เกิดแผลตามลำตัว
  • วิ่งไล่งับหาง
  • วิ่งไล่งับแมลงทั้งที่ไม่มีแมลง

ดังนั้น ถ้าคุณพบเห็นอาการแบบนี้อีก อย่าเข้าใจผิดคิดว่าสัตว์เต้นหรือกำลังมีความสุขนะจ๊ะ  หมอขอฝากไว้ ;)

 

More about