8 ข้อที่คนกินเนื้อไก่ควรรู้
ข่าว
ไก่ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่คนบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ เฉพาะคนไทยเองก็บริโภคเนื้อไก่เฉลี่ยคนละ 15 กิโลกรัมต่อปี
ในแต่ละปี ไก่กว่า 6 หมื่นล้านตัวทั่วโลกถูกเลี้ยงเพื่อการบริโภค และ 2 ใน 3 ถูกเลี้ยงในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่น่าเศร้าที่มีไก่เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์เป็นหัวใจสำคัญ
เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านสวัสดิภาพสัตว์ภายในฟาร์มเลี้ยงไก่ระดับอุตสาหกรรมตามความตั้งใจของโครงการ Change for Chickens ผู้บริโภคจึงมีบทบาทสำคัญในการออกมาผลักดันให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจชีวิตความเป็นอยู่ของไก่และพัฒนาการจัดการเรื่องสวัสดิภาพสัตว์อย่างเหมาะสมมากกว่าการลดต้นทุนการผลิตเพียงอย่างเดียว
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาทำความรู้จักเบื้องหลังของชีวิตไก่ในฟาร์ม 8 ข้อ เพื่อร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องสร้างสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มไก่ไปกับเรา
- ไก่เนื้อในฟาร์มระดับอุตสาหกรรมในเมืองไทยส่วนมากเป็น “ไก่สายพันธุ์เร่งโต” หรือ ไก่ที่เจริญเติบโตเร็วผิดปกติเพื่อเร่งการผลิตเนื้อ โดยไก่เนื้อในปัจจุบันมีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าแต่ก่อนถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับขนาดของไก่เนื้อเมื่อ 50 ปีก่อน
- เนื้อไก่ขึ้นแท่นเป็นแหล่งโปรตีนยอดนิยมในหลายประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยความนิยมบริโภคเนื้อไก่เพิ่มสูงขึ้น 22% ในประเทศสหรัฐอเมริกา 38% ในสหภาพยุโรป 89% ในประเทศจีน และ 183% ในประเทศอินเดีย ความต้องการเนื้อไก่อย่างล้นหลามนำไปสู่การแปลงสภาพผืนป่าเพื่อนำไปใช้เพื่อการปศุสัตว์ และการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มมากขึ้น
- ไก่ในฟาร์มทั่วไปมีอายุเฉลี่ยเพียงแค่ 30 - 42 วัน ซึ่งสั้นกว่าอายุตามธรรมชาติของไก่ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี
-
เมื่อไก่มีอายุอยู่ได้เพียงไม่กี่วัน เนื้อไก่ที่เรากินกันจึง ‘ไม่ใช่ไก่โตเต็มตัว’ แต่เป็น ‘ไก่วัยรุ่น’ เท่านั้น
- เนื้อไก่ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมเพื่อการบริโภค โดยเน้นให้มีน้ำหนักมากที่สุดและเหมาะสมต่อการถูกเชือดโดยเร็วที่สุด
- มีไก่ประมาณ 2,000 ตัวถูกส่งเข้าโรงเชือดทุกวินาที
- ในขณะที่ไก่ยังมีชีวิต พวกมันใช้ชีวิตอยู่บนพื้นที่แคบกว่าแผ่นกระดาษ A4
- ไก่มีนิสัยชอบ “คลุกดินคลุกฝุ่น” ซึ่งพฤติกรรมตามธรรมชาตินี้ช่วยให้ไก่มีขนสวยงาม และช่วยกำจัดปรสิต แต่ไก่ในฟาร์มอุตสาหกรรมมักไม่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสดงพฤติกรรมดังกล่าว เนื่องจากขาดสภาพแวดล้อมที่เอื้อในการแสดงพฤติกรรมนี้
ในปี พ.ศ.2562 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย พบว่า คนไทยมากถึง 66% ยังระแคะระคายเรื่องการใช้ฮอร์โมนในเนื้อสัตว์ และอีก 63% กังวลการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ ผลการสำรวจยังเผยให้เห็นว่า ผู้บริโภคมองว่า สวัสดิภาพสัตว์เป็นความรับผิดชอบของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 78
รองลงมา คือความรับผิดชอบของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด คิดเป็นร้อยละ 54 ในขณะที่ผู้บริโภคเองเต็มใจที่จะรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หากสัตว์ได้รับการดูแลสวัสดิภาพที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
แต่ความเป็นจริงในปัจจุบัน ยังมีฟาร์มไก่ระดับอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งทั่วโลกที่ไม่ได้เปิดเผยมาตรการด้านสวัสดิภาพสัตว์ภายในฟาร์ม หรือออกมาใส่ใจสุขภาพของพวกมันในขณะที่ยังมีชีวิต
ปัจจุบัยังมีฟาร์มไก่ระดับอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งทั่วโลกที่ไม่ได้เปิดเผยมาตรการด้านสวัสดิภาพสัตว์ภายในฟาร์ม หรือออกมาใส่ใจสุขภาพของพวกมันในขณะที่ยังมีชีวิต