สัตว์ป่าที่เป็นสัญลักษณ์ของอเมซอนกำลังทุกข์ทรมานจากการถ่ายรูปเซลฟี่

สัตว์ป่าที่เป็นสัญลักษณ์ของอเมซอนกำลังทุกข์ทรมานจากการถ่ายรูปเซลฟี่

ข่าว

มีรายงานเปิดโปงความทารุณโหดร้ายในการใช้สัตว์ป่าถ่ายเซลฟี่กับนักท่องเที่ยวในละตินอเมริกา

ความชื่นชอบในการถ่ายเซลฟี่กำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตของสัตว์ป่าไปตลอดกาล - แนวโน้มที่แพร่หลายในการถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดียนั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้การทารุณกรรมสัตว์ป่าในแถบอเมซอนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

จากการสำรวจเพียง 2 เมืองหลักในแถบอเมซอน : คือเมือง Manaus ในประเทศบราซิล และเมือง Puerto Alegria ในประเทศเปรู พบว่ามีการลักลอบจับสัตว์ออกจากป่า  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และผู้ประกอบการท่องเที่ยวนำสัตว์ป่าเหล่านั้นมาใช้งานธุรกิจบันเทิงอย่างไร้ความรับผิดชอบ สร้างความทุกข์ทรมาน และอาการบาดเจ็บแก่พวกมัน ซึ่งนักท่องเที่ยวมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการเซลฟี่กับพวกมัน

การสืบสวนนี้ทำให้พบหลักฐานของการทำทารุณกรรมสัตว์ป่าทั้งในที่สาธารณะและเบื้องหลัง  ซึ่งรวมถึง : 

  • สลอธถูกล่าออกจากป่า ถูกมัดด้วยเชือกเข้ากับต้นไม้ และมีชีวิตอยู่รอดไม่เกิน 6 เดือน
  • นกทูแคนมีแผลขนาดใหญ่ที่เท้า 
  • งูยักษ์อนาคอนดาเขียวได้รับบาดเจ็บและขาดน้ำ
  • จระเข้เคแมนจะถูกหนังยางรัดรอบขากรรไกร
  • แมวป่าโอซีล็อต (แมวป่าชนิดหนึ่ง) ถูกขังในกรงแคบๆ
  • พะยูนถูกเลี้ยงไว้ในบ่อน้ำเล็กๆในสวนหน้าโรงแรมท้องถิ่น
  • ตัวกินมดขนาดใหญ่ถูกทำร้ายโดยเจ้าของมัน



    1019555

คุณสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้จัดการฝ่ายโครงการ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า

"ความคลั่งไคล้ในการถ่ายรูปเซลฟี่คู่สัตว์ป่าเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกลายเป็นที่นิยมเพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและการดูแลอย่างย่ำแย่ที่สัตว์ป่าต้องเผชิญเพื่อมาอยู่ในภาพถ่ายที่ระลึกสุดพิเศษนี้"

“เบื้องหลังการท่องเที่ยวเหล่านี้สัตว์ป่าต้องถูกพรากจากแม่ของพวกมันตั้งแต่ยังเล็กและเก็บซ่อนไว้ในที่สกปรก คับแคบ ปล่อยให้หิวโหยซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเกิดความเจ็บปวดทางจิตใจอย่างรุนแรง”

ผู้เชี่ยวชาญทำวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มของโลกในการถ่ายรูปเซลฟี่คู่สัตว์ป่าเพื่อลงสื่อโซเชียลแสดงให้เห็นว่า: 

  • จากปี 2014 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนรูปถ่ายเซลฟี่คู่สัตว์ป่าอยู่บนอินสตาแกรมเพิ่มขึ้นถึง 292% 
  • มากกว่า 1 ใน 4 ของรูปถ่ายเซลฟี่แสดงให้เห็นถึงรูปเซลฟี่ที่ “แย่” เช่น มีนักท่องเที่ยวกำลังกอด อุ้ม หรือการมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมกับสัตว์ป่า
  • นักท่องเที่ยวจะลงภาพเซลฟี่ที่ “ดี” คู่สัตว์ป่าเมื่อพวกเขาได้เรียนรู้ถึงความทารุณโหดร้ายที่ซ่อนอยู่

ในวันสัตว์ป่าโลก (วันที่ 4 ตุลาคม) องค์กรฯ เปิดตัวแคมเปญ Wildlife Selfie Code เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปเซลฟี่โดยไม่มีสัตว์ป่าตัวไหนต้องทนทุกข์ทรมาน และไม่เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนธุรกิจที่ใช้สัตว์ป่าเพื่อความบันเทิงอย่างทารุณโหดร้าย

ร่วมกันที่จะไม่เป็นส่วนหนึ่งของภาพที่น่ารังเกียจเช่นนี้

ร่วมลงชื่อสนับสนุน “Wildlife Selfie Code” ให้คำมั่นว่าจะถ่ายรูปเซลฟี่โดยไม่ทำทารุณกรรมสัตว์ป่านับตั้งแต่วันนี้



ร่วมลงชื่อ

 

“เบื้องหลังการท่องเที่ยวเหล่านี้สัตว์ป่าต้องถูกพรากจากแม่ของพวกมันตั้งแต่ยังเล็กและเก็บซ่อนไว้ในที่สกปรก คับแคบ ปล่อยให้หิวโหยซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเกิดความเจ็บปวดทางจิตใจอย่างรุนแรง